วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พฤติกรรมสัตว์

พฤติกรรมสัตว์
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีแบบแผนของการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพ แวดล้อ
มต่างๆกัน การตอบสนองอาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มีผลทำให้สิ่งมีชีวิตมีการแสดงออกหรือมีพฤติกรรมในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต






ตั๊กแตนกิ่งไม้ ปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม






กบ / เขียดเป็นสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่ปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด







จักจั่น
แปลกายให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ได้อย่างแนบเนียนทั้งสีและลวดลายบนปีกของมันจะเหมือนกับเปลือกไม้มากจนแทบสังเกตไม่เห็น


1. ความหมายของพฤติกรรม

พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้ง สิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอก
สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วๆไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1) สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
2) สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น
2. กลไกการเกิดพฤติกรรม
การที่สัตว์จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. เหตุจูงไจ (Motivation)
2. ตัวกระตุ้นปลดปล่อย (Releasing Stimulus)
เช่น พฤติกรรมการกินอาหารของสัตว์ ความหิว เป็นเหตุจูงใจ อาหาร เป็นตัวกระตุ้นปลดปล่อย
โดยทั่วไปถ้าเหตุจูงใจสูง สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้ ถึงแม้ตัวกระตุ้นปลดปล่อยจะไม่รุนแรง ในทางตรงกันข้ามถ้าเหตุจูงใจต่ำ แต่ตัวกระตุ้นปลดปล่อยมีความรุนแรงมาก สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้เช่นกัน
3. พฤติกรรมของคนและสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ไวต่อการรับความรู้สึกและโต้ตอบสิ่งต่างๆที่เกิด ขึ้นรอบๆตัว เช่น แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส ซึ่งเรียกว่า สิ่งเร้า ส่วนพฤติกรรม หรืออาการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตแสดงออกหรือปรากฏให้เห็น เมื่อถูกสิ่งเร้ามากระตุ้น ณ ชั่วขณะหนึ่ง เรียกว่า การตอบสนองคนและสัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งได้แก่ แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของสิ่งเร้าและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยน แปลงไป เพื่อความปลอดภัยและการอยู่รอดของชีวิต โดยอาศัยการทำงานที่ประสานกันระหว่างระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ รวมทั้งต่อมไร้ท่อและระบบต่อมมีท่อดังนี้
3.1 การตอบสนองเมื่อได้รับแสงเป็นสิ่งเร้า คนและสัตว์บางชนิดสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับแสง เช่น
- การหรี่ตาเมื่อได้รับแสงสว่างมากเกินไป
- การที่แมลงต่างๆ บินเข้าหาแสงสว่าง
- เมื่อเกิดสุริยุปราคา นกจะบินกลับรัง เนื่องจากมีสภาพคล้ายเวลาพลบค่ำ
- การหนีแสงของไส้เดือนดิน
- การให้แสงสว่างในการเลี้ยงไก่ เพื่อให้ไก่กินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้เจริญเติบโตเร็วในระยะเวลาสั้นกว่าปกติ
- สัตว์บางชนิดออกหาอาหารในเวลาที่เริ่มมีแสงสว่าง เช่น การที่นกบินออกจากรังในตอนเช้า
- ไก่ขันบอกเวลาในตอนเช้า
แต่ก็มีสัตว์บางชนิดจะออกหาอาหารในเวลาที่ไม่มีแสงสว่าง เช่น นกเค้าแมว ค้างคาว หนู
3.2 การตอบสนองเมื่อได้รับอุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า คนและสัตว์จะดำรงชีวิตในสภาวะที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตจะมีพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพื่อความ ปลอดภัย และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
เมื่ออากาศร้อน หรือมีอุณหภูมิสูง
เมื่ออากาศเย็นหรืออุณหภูมิต่ำ
- คนจะเหงื่อออกมาก เป็นการระบายความร้อน
- คนเมื่อสัมผัสวัตถุที่ร้อนจัด จะเกิดอาการสะดุ้ง และดึงอวัยวะส่วนที่สัมผัสออกทันที
- สุนัข วัว ควาย แกะ จะระบายความร้อนโดยน้ำระเหยออกจากลิ้นและเพดานปากด้วยการหอบ
- แมว กระต่าย จิงโจ้ จะระบายความร้อนโดยการเลียอุ้งเท้า และน้ำลายจะพาความร้อนออกไป
- ควายจะหนีร้อนด้วยการแช่ในแอ่งน้ำ
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลน กิ้งก่า งู จะหลบร้อนอยู่ตามโพรงไม้ หรือ ในที่ร่ม
- คนจะขนลุก หนาวสั่น เป็นการป้องกันการสูญเสียความร้อน และเพิ่มความร้อนให้แก่ร่างกาย
- คนเมื่อสัมผัสวัตถุที่เย็นจัด จะเกิดอาการสะดุ้ง และดึงอวัยวะส่วนที่สัมผัสออกทันที
- นกนางแอ่นบ้าน และ นกปากห่าง จะอพยพย้ายถิ่นจากไซบีเรียมายังประเทศไทย
- กระรอกดินจะหนีอากาศหนาวด้วยการจำศีล (Hibernation)
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลน กิ้งก่า งู จะนอนผึ่งแดด
3.3 การตอบสนองเมื่อได้รับน้ำเป็นสิ่งเร้า น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรังชีวิตของคนและสัตว์ ช่วยลำเลียงสารอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ช่วยรักษาผิวหนังให้ชุ่มชื้น ดังนั้นเมื่อสภาพแวดล้อมมีปริมาณน้ำไม่เหมาะสม คนและสัตว์บางชนิดจะปรับตัวให้เหมาะสม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ไส้เดือนจะเคลื่อนที่เข้าหาความชื้น เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น เนื่องจากไส้เดือนหายใจโดยใช้ผิวหนังจึงจำเป็นที่ผิวหนังจะต้องชุ่มชื้นตลอด เวลา
- น้ำทำให้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก ออกหากินในเวลากลางคืน เพื่อให้มีความชื้นพอเหมาะ
- สัตว์ทะเลทรายจะออกหากินในเวลากลางคืนเพื่อลดการสูญเสียน้ำ
สำหรับคนการตอบสนองกับสิ่งเร้าที่เป็นน้ำจะสังเกตไม่ได้ชัดเจน เพราะคนเราสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับน้ำ
3.4 การตอบสนองสิ่งเร้าเมื่อได้รับการสัมผัสเป็นสิ่งเร้า ผิวหนังของคนและสัตว์จะมีประสาทสัมผัสอยู่ที่บริเวณผิวหนัง ดังนั้นเมื่อได้รับการสัมผัส ระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อจะทำงานประสานกัน และแสดงอาการตอบสนองสิ่งเร้าได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- อึ่งอ่างเมื่อได้รับการสัมผัสจะพองตัว
- กิ้งกือจะขดตัวเมื่อถูกสัมผัส
- เมื่อผงเข้าตา นัยน์ตาจะขับน้ำตาออกมาเพื่อกำจัดผง
- การกะพริบตาเมื่อรู้สึกว่ามีวัตถุเข้าใกล้นัยน์ตา เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่นัยน์ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น