วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฎีกำเนิดของระบบสุริยะ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับโลกของเรามานานนับล้านปีมาแล้ว พบว่า โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่อยู่ในระบบสุริยะ มีดวงอาทิตย์ในศูนย์กลางของระบบ โลกอยู่ในระบบสุริยะ และระบบสุริยะอยู่ในกาแล็กซีที่ชื่อว่า ทางช้างเผือก ซึ่งกาแล็กซีนี้เป็นหนึ่งในล้านๆ กาแล็กซีที่อยู่ในท้องฟ้าอันกว้างใหญ่รวมเรียกว่า “จักรวาลหรือเอกภพ (universe)”นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาและพัฒนาทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะ เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการเกิดระบบสุริยะและโลก ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้เสนอทฤษฎีไว้ เช่น
1.ทฤษฎีของคานท์และลาพลาส
ทฤษฎีของคานท์และลาพลาส โดยนักดาราศาสตร์ชื่อ เอมมานูเอล คานท์ ชาวเยอรมัน และปีแอร์ ลาพลาส ชาวฝรั่งเศส เชื่อว่า "ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มแก๊สที่ร้อนจัดขนาดใหญ่ และหมุนรอบตัวเองจนเกิดแรงเหวี่ยงทำให้เกิดวงแหวนเป็นชั้นๆ ต่อมากลุ่มแก๊สบริเวณศูนย์กลางของวงแหวนรวมตัวกันกลายป็นดวงอาทิตย์ ส่วนวงแหวนกลายเป็นดาวเคราะห์และบริวาร"

2.ทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์
ทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์ มีใจความสรุปว่า "มีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่เคลื่อนที่ผ่านเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดแรงดึงดูดมหาศาลระหว่างดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์จนมวลบางส่วนของดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์หลุดออกมากลายเป็นดาวเคราะห์ โลก และสิ่งอื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาล"

3.ทฤษฎีของเฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน
ทฤษฎีของเฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน เป็นทฤษฎีที่อาศัยทฤษฎีของคานท์และลาพลาสประกอบกับหลักฐานจากการศึกษาปรากฏการณ์ท้องฟ้าเพิ่มเติม มีใจความสรุปว่า "ดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อนจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองต่อมาดวงอาทิตย์เริ่มมีแสงสว่าง และยังคงมีกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองห้อมล้อมอยู่และหมุนไปรอบๆ ดวงอาทิตย์ ต่อมากลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองเหล่านี้จะถูกดึงดูดและอัดตัวแน่นขึ้นและรวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็นดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์"

จากทฤษฎีต่างๆ ยังไม่สรุปได้แน่นอนว่าโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ยังต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไปเรื่อยๆ ข้อมูลที่ค้นพบใหม่อาจทำให้ทฤษฎีต้องเปลี่ยนแปลงไป และอาจมีทฤษฎีใหม่มาช่วยอธิบายการกำเนิดโลกได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์

รูปแสดงระบบสุริยะ

ที่มา : http://www.myfirstbrain.com/

ส่วนประกอบของโลก

โลกเรามีรูปร่างเป็นทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาวประมาณ 12,711 กิโลเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวเส้นศูนย์สูตรซึ่งมีค่าประมาณ 12,755 กิโลเมตร ขณะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์นั้น แกนของโลกจะเอียงทำมุมประมาณ 23 องศา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ นอกเขตร้อน1.เปลือกโลก (earth crust) เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของโลกมีความหนาน้อยที่สุดประมาณ 6-35 กิโลเมตร ประกอบด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเปลือกโลกส่วนบนและเปลือกโลกส่วนล่าง
> เปลือกโลกส่วนบน เป็นส่วนนอกสุดประกอบด้วยชั้นดินและหินไซอัล (sial) ที่เป็นหินแกรนิต ส่วนใหญ่ประกอบด้วยซิลิกา (silica) และอลูมินา (alumina)
> เปลือกโลกส่วนล่าง เป็นส่วนที่เป็นมหาสมุทร ประกอบด้วยหินไซมา (sima) ที่เป็นหินบะซอลต์ ประกอบด้วยซิลิกา (silica) และแมกนีเซียม (magnesium)
2.แมนเทิล (mantle) เป็นชั้นของโลกที่อยู่ลึกจากชั้นเปลือกโลก ประกอบด้วยหินและแร่หลายชนิด เช่น หินอัลตราเบสิก หินเพริโดไทต์ ซึ่งเป็นหินอัคนี และหินหลอมเหลวซึ่งเรียกว่า "หินหนืด" มีอุณหภูมิประมาณ 2,000 องศาเซลเซียส มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร
3.แก่นโลก (core) อยู่ชั้นในสุดหรือเป็นแก่นกลางของโลก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นแก่นโลกนอก เป็นชั้นของเหลวที่ร้อนจัด และแก่นโลกในเป็นชั้นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิเกิล แก่นโลกมีความหนามากประมาณ 3,440 กิโลเมตร มีอุณหภูมิสูงประมาณ 5,000 องศาเซลเซียส
ที่มา : http://www.myfirstbrain.com

การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

อัลเฟรด เวเจเนอร์ (Alfred Wegener) (ค.ศ.1880 – ค.ศ.1930) นักธรณีวิทยาชาวเยอรมันเสนอทฤษฎีการเคลื่อนที่ของทวีป หรือ (Theory of Continental Drift) ได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อ 200 ล้านปีมาแล้วผิวโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินยื่นพ้นน้ำขึ้นมานั้นมีเพียงส่วนเดียว เป็นทวีปเพียงทวีปเดียว เรียกว่า “พันเจีย (pangaea)” ต่อมาแผ่นดินได้มีการแยกออกเป็นส่วนๆ ดังเช่นในปัจจุบัน
นักธรณีวิทยาเชื่อว่า แผ่นเปลือกโลกไม่ได้ติดเป็นแผ่นเดียวกัน เนื่องจากพบรอยแยกที่อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก ทำให้เปลือกโลกถูกแบ่งออกเป็นแผ่นๆ ที่เรียกว่า “แผ่นเปลือกโลก” ดังนี้ ระบบของแผ่นเปลือกโลก นักธรณีวิทยาแบ่งแผ่นเปลือกโลกออกเป็น 6 แผ่นใหญ่ และแผ่นขนาดเล็กมากมาย 1.แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปเอเชียและยุโรปและพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2.แผ่นแอฟริกา (African Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกาและพื้นน้ำรอบทวีปนี้
3.แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctic Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ
4.แผ่นออสเตรเลีย (Australian Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย อินเดีย และพื้นน้ำระหว่างทวีปออสเตรเลีย
5.แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
6.แผ่นอเมริกา (American Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือและใต้พื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก (Deformation) แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
> การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่แบบรวดเร็วฉับพลัน (abrupt movements) มักเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง จนทำให้เปลือกโลกจมตัวลงเป็นบริเวณกว้าง หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเคลือนที่ออกจากกันในแนวราบทำให้เกิดลุ่มน้ำขัง (swamps) หรือทะเลสาป เช่น ที่ราบลุ่มในภาคเหนือของประเทศไทย หรือที่ราบลุ่มตอนกลางที่เรียกว่าที่ราบลุ่มเจ้าพระยาของไทย
> การเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนที่อย่างช้าๆ (slow movemants) แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เช่น แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิคเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ 5 เซนติเมตร/ปี เฉลี่ยทั้งโลก 5-8 เซนติเมตร/ปี
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก มีลักษณะการเคลื่อนที่ ดังนี้
1)การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแยกออกจากกัน
2)การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเข้าชนกันสาเหตุของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
สาเหตุของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ที่มา : http://www.myfirstbrain.com

ภูเขา

แผ่นดินไหว

ผลกระทบจาการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก มีดังนี้
1.เกิดภูเขา เนื่องจากการชนกันทำให้เกิดแรงดัน แผ่นเปลือกโลกบางส่วนถูกแรงดันดันจนโค้งขึ้น กลายเป็นภูเขา เช่น การชนกันของแผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย แผ่นยูเรเซียถูกดันให้โค้งตัวขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัยที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย

ภาพแสดงการชนกันของแผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย แผ่นยูเรเซีย

2.แผ่นเปลือกโลกบางส่วนหายไป เมื่อมีการชนกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น แผ่นที่ 1 จะซ้อนอยู่บนด้านบน ส่วนอีกแผ่นหนึ่งจะมุดซ้อนอยู่ด้านล่าง ดังเช่น การชนกันของแผ่นยูเรเซียแผ่นออสเตรเลีย พบว่า แผ่นยูเรเซียที่ซ้อนอยู่ด้านบนจะดันให้โค้งตัวขึ้น ขณะเดียวกันแผ่นออสเตรเลียจะมุดซ้อนอยู่ด้านล่าง จึงทำให้เปลือกโลกบางส่วนของแผ่นออสเตรเลียหายไป เนื่องจากไปมุดอยู่ใต้แผ่นยูเรเซียลงไปถึงชั้นแมนเทิล และได้รับความร้อนจากแก่นโลกจึงหลอมเหลวเป็นหินหนืดอยู่ใต้เปลือกโลก
3.การเกิดแผ่นดินไหว เมื่อแผ่นเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน เคลื่อนที่เข้าชนกันหรือเคลื่อนที่สวนทางกัน บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกจึงเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกอย่างฉับพลัน อันเนื่องมาจากการขยายตัวและหดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่แตกต่างกัน เปลือกโลกส่วนล่างจะขยายตัวได้มากกว่าเปลือกโลกส่วนบน เนื่องจากมีอุณหภูมิสูงกว่า และอุณหภูมิเปลือกโลกส่วนบนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อรอบต่อของแผ่นเปลือกโลก โดยบางแห่งเคลื่อนที่ออกจากกัน บางแห่งเคลื่อนที่เข้าหากัน การชนกันหรือการแยกกันของรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่น การทรุดตัว การเกิดการกระแทก ฉีกขาด และเกิดการเคลื่อนที่ตามแนวระดับไปยังบริเวณรอยต่อรอบๆ ในรูปของคลื่นที่เรียกว่า เกิดแผ่นดินไหว
บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว บริเวณที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้มาก ได้แก่ บริเวณรอยต่อระหว่างเปลือกโลก เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจะมีโอกาสกระทบกระแทกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นๆ

เครื่องมือตรวจสอบแผ่นดินไหว เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบแผ่นดินไหว เรียกว่า “ไซโมกราฟ (seismograph)” หน่วยที่ใช้วัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว คือ มาตราริกเตอร์และมาตราเมอแคลลี ในประเทศไทยใช้ มาตราริกเตอร์ ซึ่งในประเทศไทยเรามีสถานีตรวจแผ่นดินไหวทั้งหมด 7 แห่ง คือ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก นครราชสีมา นครสวรรค์ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา

ผลกระทบจากการเกิดแผ่นกินไหว ถ้าเปลือกโลกเกิดการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว จะมีผลต่ออาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างเกิดพังทลาย เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก เช่น การเกิดคลื่นสึนามิ ที่ร้ายแรงในปีที่ผ่านมา หรือดังที่เราได้ทราบจากข่าวต่างประเทศอยู่เสมอ

ที่มา : http://www.myfirstbrian.com/

ภูเขาไฟ

ภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดในชั้นแมนเทิลซึ่งอยู่ภายใต้โลกที่เรียกว่า “แมกมา” มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก พยายามดันขึ้นมาตามรอยแตกและแทรกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือระเบิดเกิดขึ้น ทำให้หินหนืดไหลออกมาสู่ผิวโลกที่เรียกว่า “ลาวา” ไหลบ่าจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ สิ่งที่พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟนอกจากลาวาแล้ว ยังมีเถ้าถ่าน ฝุ่นละออง ไอน้ำ เศษหิน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ แก๊สไนโตรเจน และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์


ภาพโครงสร้างของภูเขาไฟ

บริเวณที่เกิดภูเขาไฟ ภูเขาไฟมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากในบริเวณแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกลงไปใต้พื้นมหาสมุทร เนื่องจากถูกหลอมเหลวด้วยความร้อนจากแก่นโลกให้เป็นหินหนืด ทำให้หินหนืดแทรกตัวขึ้นมาได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นบริเวณที่ห่างจากรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกก็มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้ โดยการดันของหินหนืดที่มีอุณหภูมิและความดันสูงออกมาตามรอยแยกของผิวโลก
การระเบิดของภูเขาไฟในประเทศไทย นักธรณีวิทยาพบว่า เมื่อประมาณล้านปีมาแล้วประเทศไทยเคยภูเขาไฟระเบิดเช่นกันที่จังหวัดลำปางและจังหวัดบุรีรัมย์ เคยมีหินหนืดดันแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน แต่การระเบิดไม่รุนแรง
ลักษณะก่อนภูเขาไฟระเบิด นักธรณีวิทยาพบว่า ก่อนภูเขาไฟระเบิดจะเกิดแผ่นดินไหวก่อนเสมอ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของหินหนืดที่มีความดันและอุณหภูมิสูงใต้ผิวโลกพยายามแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกสู่ผิวโลก ภาพลักษณะการเกิดภูเขาไฟ

ภายหลังภูเขาไฟระเบิด
ลาวาไหลบ่าลงมาสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
เกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากการปรับตัวของชั้นหินหนืดใต้ผิวโลกกับบริเวณใกล้เคียง
เกิดแอ่งภูเขาไฟเนื่องจากภายหลังการระเบิดจะเกิดการยุบตัวของยอดภูเขาไฟแทนที่หินหนืดที่ไหลออกไป

การกร่อนของเปลือกโลก

การกร่อน เป็นกระบวนการที่ทำให้สารที่เป็นองค์ประกอบของเปลือกโลกหลุดออกหรือสลายตัวไปจากผิวโลก เช่น กระแสน้ำกัดเซาะเปลือกโลกให้พังทลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย พัดพาให้เคลื่อนไปตามแนวทางน้ำไหล เมื่อฝนตกน้ำไหลบ่าลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกเกิดการกัดเซาะผิวหน้าดิน แล้วพัดพาไปทับถมภูมิประเทศที่มีพื้นที่ต่ำกว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนมีดังนี้
1.การกร่อนของเปลือกโลกเนื่องจากกระแสน้ำ การกัดเซาะของกระแสน้ำเกิดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ซึ่งมีผลทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง การกัดกร่อน การพัดพา และการทับถมของตะกอน เนื่องจากกระแสน้ำสรุปได้ดังนี้
จากรูป กระแสน้ำไหลตามลูกศรจากซ้ายไปขวา เริ่มจากลูกศรหมายเลข 1 กระแสน้ำพุ่งปะทะชายฝั่ง ก ทำให้ชายฝั่งถูกกัดเซาะพังทลาย ตะกอนถูกพัดพาไป กระแสน้ำจากลูกศรหมายเลข 2 พุ่งปะทะชายฝั่ง ค ทำให้ถูกกัดเซาะเช่นเดียวกัน แต่ตะกอนที่ถูกพัดพามา เมื่อถึงบริเวณที่กระแสน้ำไหลอ่อนลง จะเกิดตะกอนทับถมในบริเวณนั้น บริเวณ ข และ ง กระแสน้ำไหลอ่อนกว่า บริเวณ ก และ ค ดังนั้น ตะกอยจึงทับถม ณ บริเวณ ข และ ง ทำให้เกิดแผ่นดินยื่นออกมา
ภาพแสดงการกัดกร่อนของกระแสน้ำ
2.การกร่อนของเปลือกโลกเนื่องจากปฏิกิริยาเคมี เกิดจากน้ำฝนละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศ ทำให้เกิดฝนกรดไปกัดกร่อนเปลือกโลกให้ผุพัง
3.การกัดกร่อนเปลือกโลกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ทำให้เกิดการกัดกร่อนของเปลือกโลกได้ เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศทำให้เปลือกโลกเกิดการขยายตัวและหดตัว ถ้าการขยายตัวของหินชั้นในกับหินชั้นนอกไม่เท่ากันอาจทำให้หินเกิดการแตกร้าวได้ และในบางครั้งน้ำในโพรงก้อนหินกลายเป็นน้ำแข็ง อาจทำให้เกิดการขยายตัวดันให้ก้อนหินแตกเป็นชิ้นเล็กๆ ได้
4.การกัดกร่อนเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ในธรรมชาติแรงโน้มถ่วงของโลกจะพยายามดึงดูดสิ่งต่างๆ ให้ตกลงสู่พื้นผิวโลก และดึงดูดวัตถุให้เกิดการเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่า เรียกว่า “ธารน้ำแข็ง” ขณะเคลื่อนที่ก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่และมีมวลมากจะกระแทกและขัดสีกับก้อนหินในลำธาร ทำให้เปลือกโลกเกิดการกัดกร่อนได้
5.การกัดกร่อนเนื่องจากกระแสลม เช่น บริเวณที่ราบสูง ทะเลทราย ภูเขาสูงซึ่งได้รับอิทธิพลจากกระแสลมเป็นประจำ กระแสลมจะทำให้เปลือกโลกเกิดการกัดกร่อนได้เช่นกัน “กระแสลมนั้นทำให้เปลือกโลกกร่อนได้ และถ้ากระแสลมแรงหรือมีความเร็วสูงจะทำให้เกิดการกร่อนได้มาก แต่ถ้าความแรงของกระแสลมลดลงหรือมีสิ่งกีดขวางความเร็วของกระแสลมจะทำให้เปลือกโลกกร่อนได้น้อยกว่า” การกร่อนเนื่องจากกระแสลมจะเกิดกับผิวดินที่แห้งแล้งขาดพืชปกคลุม
ตะกอนที่เกิดจากการสึกกร่อนผุพัง ด้วยอิทธิพลของกระแสน้ำ ปฏิกิริยาเคมี ความร้อน และกระแสลมจะถูกพัดพาไปด้วยความแรงของกระแสน้ำหรือกระแสลม เมื่อความแรงลดลงจะเกิดการทับถมของตะกอนที่พัดพามา การเกิดการทับถมของตะกอน ตะกอนจะทับถมกันเป็นชั้นๆ ตะกอนที่มีขนาดใหญ่จะถูกพัดพาไปตกที่ใกล้ ส่วนตะกอนที่มีขนาดเล็กจะถูกพัดพาไปตกที่ไกล การทับถมของตะกอนมีลักษณะแตกต่างกันไปตามลักษณะของภูมิประเทศและกระแสน้ำที่พัดผ่าน ดังนี้
1)การทับถมของตะกอนรูปพัด เกิดจากกระแสน้ำไหลจากภูเขาตกลงสู่ที่ราบต่ำกว่า มีร่องน้ำ ขนาดใหญ่กว่าร่องน้ำเดิมมาก ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนรูปพัด
2)การทับถมของตะกอนรูปดินดอนสามเหลี่ยม เกิดจากการทับถมของตะกอนที่บริเวณปากแม่น้ำ เป็นรูปสามเหลี่ยม เนื่องจากกระแสน้ำบริเวณปากแม่น้ำเคลื่อนที่ช้าลง จึงเกิดการทับถมของตะกอนอยู่ตลอดเวลา
ที่มา : http://www.myfirstbrain.com/

ทรัพยากรหิน

นักธรณีวิทยาจำแนกหินตามลักษณะการเกิดได้ 3 ประเภท คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร อย่างไรก็ตามกระบวนการไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ หินอัคนี หินชั้น และหินแปร การเปลี่ยนแปลงประเภทหินอาจเกิดขึ้นย้อนกลับไปมาได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ดังภาพหินอัคนี เป็นหินชนิดแรกที่เกิดขึ้นในโลก เกิดจากหินหนืดที่เรียกว่า “แมกมา” ในชั้นแมนเทิล แทรกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก เรียกว่า “ลาวา” บางครั้งเกิดการเย็นตัวก่อนถึงผิวโลก เกิดเป็นหินเนื้อหยาบมีหลากหลายลาวาที่เย็นตัวที่ผิวโลกมีทั้งพวกที่เย็นตัวเร็วและเย็นตัวช้า ทำให้ลักษณะเนื้อหินแตกต่างกันหินอัคนี เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดที่ดันขึ้นมาสู่ผิวโลก มีทั้งชนิดที่เป็นรูปผลึกและไม่มีรูปผลึก โดยเฉพาะหินภูเขาไฟจะไม่มีรูปผลึก ชนิดที่มีรูปผลึกขนาดของผลึกจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเย็นตัวของหินหนืด เนื่องจากเนื้อของหินมีลักษณะแตกต่างกัน จึงสามารถจัดจำแนกหินอัคนีเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
>หินแกรนิต (Granite)
>หินบะซอลต์ (Basalt)
>หินออบซิเดียน (Obsidian)
>หินสคอเรีย (Scoria)
>หินพัมมิซ (Pumice)
>หินไรโอไลต์ (Rhyolite)
>หินแอนดีไซต์ (Andesite)
การเลือกหินอัคนีไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมนั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
#สมบัติของหิน
#ปริมาณของหินที่มีอยู่ในท้องถิ่น
#ความสะดวกในการทำให้หินมีขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ
#การใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทรัพยากรแร่

ทรัพยากรดิน

ทรัพยากรน้ำ