วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฎีกำเนิดของระบบสุริยะ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับโลกของเรามานานนับล้านปีมาแล้ว พบว่า โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่อยู่ในระบบสุริยะ มีดวงอาทิตย์ในศูนย์กลางของระบบ โลกอยู่ในระบบสุริยะ และระบบสุริยะอยู่ในกาแล็กซีที่ชื่อว่า ทางช้างเผือก ซึ่งกาแล็กซีนี้เป็นหนึ่งในล้านๆ กาแล็กซีที่อยู่ในท้องฟ้าอันกว้างใหญ่รวมเรียกว่า “จักรวาลหรือเอกภพ (universe)”นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาและพัฒนาทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะ เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการเกิดระบบสุริยะและโลก ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้เสนอทฤษฎีไว้ เช่น
1.ทฤษฎีของคานท์และลาพลาส
ทฤษฎีของคานท์และลาพลาส โดยนักดาราศาสตร์ชื่อ เอมมานูเอล คานท์ ชาวเยอรมัน และปีแอร์ ลาพลาส ชาวฝรั่งเศส เชื่อว่า "ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มแก๊สที่ร้อนจัดขนาดใหญ่ และหมุนรอบตัวเองจนเกิดแรงเหวี่ยงทำให้เกิดวงแหวนเป็นชั้นๆ ต่อมากลุ่มแก๊สบริเวณศูนย์กลางของวงแหวนรวมตัวกันกลายป็นดวงอาทิตย์ ส่วนวงแหวนกลายเป็นดาวเคราะห์และบริวาร"

2.ทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์
ทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์ มีใจความสรุปว่า "มีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่เคลื่อนที่ผ่านเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดแรงดึงดูดมหาศาลระหว่างดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์จนมวลบางส่วนของดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์หลุดออกมากลายเป็นดาวเคราะห์ โลก และสิ่งอื่นๆ ในระบบสุริยะจักรวาล"

3.ทฤษฎีของเฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน
ทฤษฎีของเฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน เป็นทฤษฎีที่อาศัยทฤษฎีของคานท์และลาพลาสประกอบกับหลักฐานจากการศึกษาปรากฏการณ์ท้องฟ้าเพิ่มเติม มีใจความสรุปว่า "ดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อนจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองต่อมาดวงอาทิตย์เริ่มมีแสงสว่าง และยังคงมีกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองห้อมล้อมอยู่และหมุนไปรอบๆ ดวงอาทิตย์ ต่อมากลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองเหล่านี้จะถูกดึงดูดและอัดตัวแน่นขึ้นและรวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็นดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์"

จากทฤษฎีต่างๆ ยังไม่สรุปได้แน่นอนว่าโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ยังต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไปเรื่อยๆ ข้อมูลที่ค้นพบใหม่อาจทำให้ทฤษฎีต้องเปลี่ยนแปลงไป และอาจมีทฤษฎีใหม่มาช่วยอธิบายการกำเนิดโลกได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์

รูปแสดงระบบสุริยะ

ที่มา : http://www.myfirstbrain.com/

ส่วนประกอบของโลก

โลกเรามีรูปร่างเป็นทรงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาวประมาณ 12,711 กิโลเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวเส้นศูนย์สูตรซึ่งมีค่าประมาณ 12,755 กิโลเมตร ขณะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์นั้น แกนของโลกจะเอียงทำมุมประมาณ 23 องศา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ นอกเขตร้อน1.เปลือกโลก (earth crust) เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของโลกมีความหนาน้อยที่สุดประมาณ 6-35 กิโลเมตร ประกอบด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเปลือกโลกส่วนบนและเปลือกโลกส่วนล่าง
> เปลือกโลกส่วนบน เป็นส่วนนอกสุดประกอบด้วยชั้นดินและหินไซอัล (sial) ที่เป็นหินแกรนิต ส่วนใหญ่ประกอบด้วยซิลิกา (silica) และอลูมินา (alumina)
> เปลือกโลกส่วนล่าง เป็นส่วนที่เป็นมหาสมุทร ประกอบด้วยหินไซมา (sima) ที่เป็นหินบะซอลต์ ประกอบด้วยซิลิกา (silica) และแมกนีเซียม (magnesium)
2.แมนเทิล (mantle) เป็นชั้นของโลกที่อยู่ลึกจากชั้นเปลือกโลก ประกอบด้วยหินและแร่หลายชนิด เช่น หินอัลตราเบสิก หินเพริโดไทต์ ซึ่งเป็นหินอัคนี และหินหลอมเหลวซึ่งเรียกว่า "หินหนืด" มีอุณหภูมิประมาณ 2,000 องศาเซลเซียส มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร
3.แก่นโลก (core) อยู่ชั้นในสุดหรือเป็นแก่นกลางของโลก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นแก่นโลกนอก เป็นชั้นของเหลวที่ร้อนจัด และแก่นโลกในเป็นชั้นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิเกิล แก่นโลกมีความหนามากประมาณ 3,440 กิโลเมตร มีอุณหภูมิสูงประมาณ 5,000 องศาเซลเซียส
ที่มา : http://www.myfirstbrain.com

การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

อัลเฟรด เวเจเนอร์ (Alfred Wegener) (ค.ศ.1880 – ค.ศ.1930) นักธรณีวิทยาชาวเยอรมันเสนอทฤษฎีการเคลื่อนที่ของทวีป หรือ (Theory of Continental Drift) ได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อ 200 ล้านปีมาแล้วผิวโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินยื่นพ้นน้ำขึ้นมานั้นมีเพียงส่วนเดียว เป็นทวีปเพียงทวีปเดียว เรียกว่า “พันเจีย (pangaea)” ต่อมาแผ่นดินได้มีการแยกออกเป็นส่วนๆ ดังเช่นในปัจจุบัน
นักธรณีวิทยาเชื่อว่า แผ่นเปลือกโลกไม่ได้ติดเป็นแผ่นเดียวกัน เนื่องจากพบรอยแยกที่อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก ทำให้เปลือกโลกถูกแบ่งออกเป็นแผ่นๆ ที่เรียกว่า “แผ่นเปลือกโลก” ดังนี้ ระบบของแผ่นเปลือกโลก นักธรณีวิทยาแบ่งแผ่นเปลือกโลกออกเป็น 6 แผ่นใหญ่ และแผ่นขนาดเล็กมากมาย 1.แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปเอเชียและยุโรปและพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2.แผ่นแอฟริกา (African Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกาและพื้นน้ำรอบทวีปนี้
3.แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctic Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ
4.แผ่นออสเตรเลีย (Australian Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย อินเดีย และพื้นน้ำระหว่างทวีปออสเตรเลีย
5.แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
6.แผ่นอเมริกา (American Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือและใต้พื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก (Deformation) แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
> การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนที่แบบรวดเร็วฉับพลัน (abrupt movements) มักเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง จนทำให้เปลือกโลกจมตัวลงเป็นบริเวณกว้าง หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเคลือนที่ออกจากกันในแนวราบทำให้เกิดลุ่มน้ำขัง (swamps) หรือทะเลสาป เช่น ที่ราบลุ่มในภาคเหนือของประเทศไทย หรือที่ราบลุ่มตอนกลางที่เรียกว่าที่ราบลุ่มเจ้าพระยาของไทย
> การเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนที่อย่างช้าๆ (slow movemants) แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เช่น แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิคเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ 5 เซนติเมตร/ปี เฉลี่ยทั้งโลก 5-8 เซนติเมตร/ปี
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก มีลักษณะการเคลื่อนที่ ดังนี้
1)การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแยกออกจากกัน
2)การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเข้าชนกันสาเหตุของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
สาเหตุของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ที่มา : http://www.myfirstbrain.com

ภูเขา

แผ่นดินไหว

ผลกระทบจาการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก มีดังนี้
1.เกิดภูเขา เนื่องจากการชนกันทำให้เกิดแรงดัน แผ่นเปลือกโลกบางส่วนถูกแรงดันดันจนโค้งขึ้น กลายเป็นภูเขา เช่น การชนกันของแผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย แผ่นยูเรเซียถูกดันให้โค้งตัวขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัยที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย

ภาพแสดงการชนกันของแผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย แผ่นยูเรเซีย

2.แผ่นเปลือกโลกบางส่วนหายไป เมื่อมีการชนกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น แผ่นที่ 1 จะซ้อนอยู่บนด้านบน ส่วนอีกแผ่นหนึ่งจะมุดซ้อนอยู่ด้านล่าง ดังเช่น การชนกันของแผ่นยูเรเซียแผ่นออสเตรเลีย พบว่า แผ่นยูเรเซียที่ซ้อนอยู่ด้านบนจะดันให้โค้งตัวขึ้น ขณะเดียวกันแผ่นออสเตรเลียจะมุดซ้อนอยู่ด้านล่าง จึงทำให้เปลือกโลกบางส่วนของแผ่นออสเตรเลียหายไป เนื่องจากไปมุดอยู่ใต้แผ่นยูเรเซียลงไปถึงชั้นแมนเทิล และได้รับความร้อนจากแก่นโลกจึงหลอมเหลวเป็นหินหนืดอยู่ใต้เปลือกโลก
3.การเกิดแผ่นดินไหว เมื่อแผ่นเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน เคลื่อนที่เข้าชนกันหรือเคลื่อนที่สวนทางกัน บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกจึงเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกอย่างฉับพลัน อันเนื่องมาจากการขยายตัวและหดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่แตกต่างกัน เปลือกโลกส่วนล่างจะขยายตัวได้มากกว่าเปลือกโลกส่วนบน เนื่องจากมีอุณหภูมิสูงกว่า และอุณหภูมิเปลือกโลกส่วนบนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อรอบต่อของแผ่นเปลือกโลก โดยบางแห่งเคลื่อนที่ออกจากกัน บางแห่งเคลื่อนที่เข้าหากัน การชนกันหรือการแยกกันของรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่น การทรุดตัว การเกิดการกระแทก ฉีกขาด และเกิดการเคลื่อนที่ตามแนวระดับไปยังบริเวณรอยต่อรอบๆ ในรูปของคลื่นที่เรียกว่า เกิดแผ่นดินไหว
บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว บริเวณที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้มาก ได้แก่ บริเวณรอยต่อระหว่างเปลือกโลก เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจะมีโอกาสกระทบกระแทกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นๆ

เครื่องมือตรวจสอบแผ่นดินไหว เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบแผ่นดินไหว เรียกว่า “ไซโมกราฟ (seismograph)” หน่วยที่ใช้วัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว คือ มาตราริกเตอร์และมาตราเมอแคลลี ในประเทศไทยใช้ มาตราริกเตอร์ ซึ่งในประเทศไทยเรามีสถานีตรวจแผ่นดินไหวทั้งหมด 7 แห่ง คือ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก นครราชสีมา นครสวรรค์ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา

ผลกระทบจากการเกิดแผ่นกินไหว ถ้าเปลือกโลกเกิดการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว จะมีผลต่ออาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างเกิดพังทลาย เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก เช่น การเกิดคลื่นสึนามิ ที่ร้ายแรงในปีที่ผ่านมา หรือดังที่เราได้ทราบจากข่าวต่างประเทศอยู่เสมอ

ที่มา : http://www.myfirstbrian.com/

ภูเขาไฟ

ภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดในชั้นแมนเทิลซึ่งอยู่ภายใต้โลกที่เรียกว่า “แมกมา” มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก พยายามดันขึ้นมาตามรอยแตกและแทรกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือระเบิดเกิดขึ้น ทำให้หินหนืดไหลออกมาสู่ผิวโลกที่เรียกว่า “ลาวา” ไหลบ่าจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ สิ่งที่พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟนอกจากลาวาแล้ว ยังมีเถ้าถ่าน ฝุ่นละออง ไอน้ำ เศษหิน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ แก๊สไนโตรเจน และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์


ภาพโครงสร้างของภูเขาไฟ

บริเวณที่เกิดภูเขาไฟ ภูเขาไฟมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากในบริเวณแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกลงไปใต้พื้นมหาสมุทร เนื่องจากถูกหลอมเหลวด้วยความร้อนจากแก่นโลกให้เป็นหินหนืด ทำให้หินหนืดแทรกตัวขึ้นมาได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นบริเวณที่ห่างจากรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกก็มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้ โดยการดันของหินหนืดที่มีอุณหภูมิและความดันสูงออกมาตามรอยแยกของผิวโลก
การระเบิดของภูเขาไฟในประเทศไทย นักธรณีวิทยาพบว่า เมื่อประมาณล้านปีมาแล้วประเทศไทยเคยภูเขาไฟระเบิดเช่นกันที่จังหวัดลำปางและจังหวัดบุรีรัมย์ เคยมีหินหนืดดันแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน แต่การระเบิดไม่รุนแรง
ลักษณะก่อนภูเขาไฟระเบิด นักธรณีวิทยาพบว่า ก่อนภูเขาไฟระเบิดจะเกิดแผ่นดินไหวก่อนเสมอ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของหินหนืดที่มีความดันและอุณหภูมิสูงใต้ผิวโลกพยายามแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกสู่ผิวโลก ภาพลักษณะการเกิดภูเขาไฟ

ภายหลังภูเขาไฟระเบิด
ลาวาไหลบ่าลงมาสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
เกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากการปรับตัวของชั้นหินหนืดใต้ผิวโลกกับบริเวณใกล้เคียง
เกิดแอ่งภูเขาไฟเนื่องจากภายหลังการระเบิดจะเกิดการยุบตัวของยอดภูเขาไฟแทนที่หินหนืดที่ไหลออกไป

การกร่อนของเปลือกโลก

การกร่อน เป็นกระบวนการที่ทำให้สารที่เป็นองค์ประกอบของเปลือกโลกหลุดออกหรือสลายตัวไปจากผิวโลก เช่น กระแสน้ำกัดเซาะเปลือกโลกให้พังทลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย พัดพาให้เคลื่อนไปตามแนวทางน้ำไหล เมื่อฝนตกน้ำไหลบ่าลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกเกิดการกัดเซาะผิวหน้าดิน แล้วพัดพาไปทับถมภูมิประเทศที่มีพื้นที่ต่ำกว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนมีดังนี้
1.การกร่อนของเปลือกโลกเนื่องจากกระแสน้ำ การกัดเซาะของกระแสน้ำเกิดบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ซึ่งมีผลทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง การกัดกร่อน การพัดพา และการทับถมของตะกอน เนื่องจากกระแสน้ำสรุปได้ดังนี้
จากรูป กระแสน้ำไหลตามลูกศรจากซ้ายไปขวา เริ่มจากลูกศรหมายเลข 1 กระแสน้ำพุ่งปะทะชายฝั่ง ก ทำให้ชายฝั่งถูกกัดเซาะพังทลาย ตะกอนถูกพัดพาไป กระแสน้ำจากลูกศรหมายเลข 2 พุ่งปะทะชายฝั่ง ค ทำให้ถูกกัดเซาะเช่นเดียวกัน แต่ตะกอนที่ถูกพัดพามา เมื่อถึงบริเวณที่กระแสน้ำไหลอ่อนลง จะเกิดตะกอนทับถมในบริเวณนั้น บริเวณ ข และ ง กระแสน้ำไหลอ่อนกว่า บริเวณ ก และ ค ดังนั้น ตะกอยจึงทับถม ณ บริเวณ ข และ ง ทำให้เกิดแผ่นดินยื่นออกมา
ภาพแสดงการกัดกร่อนของกระแสน้ำ
2.การกร่อนของเปลือกโลกเนื่องจากปฏิกิริยาเคมี เกิดจากน้ำฝนละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศ ทำให้เกิดฝนกรดไปกัดกร่อนเปลือกโลกให้ผุพัง
3.การกัดกร่อนเปลือกโลกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ทำให้เกิดการกัดกร่อนของเปลือกโลกได้ เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศทำให้เปลือกโลกเกิดการขยายตัวและหดตัว ถ้าการขยายตัวของหินชั้นในกับหินชั้นนอกไม่เท่ากันอาจทำให้หินเกิดการแตกร้าวได้ และในบางครั้งน้ำในโพรงก้อนหินกลายเป็นน้ำแข็ง อาจทำให้เกิดการขยายตัวดันให้ก้อนหินแตกเป็นชิ้นเล็กๆ ได้
4.การกัดกร่อนเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ในธรรมชาติแรงโน้มถ่วงของโลกจะพยายามดึงดูดสิ่งต่างๆ ให้ตกลงสู่พื้นผิวโลก และดึงดูดวัตถุให้เกิดการเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่า เรียกว่า “ธารน้ำแข็ง” ขณะเคลื่อนที่ก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่และมีมวลมากจะกระแทกและขัดสีกับก้อนหินในลำธาร ทำให้เปลือกโลกเกิดการกัดกร่อนได้
5.การกัดกร่อนเนื่องจากกระแสลม เช่น บริเวณที่ราบสูง ทะเลทราย ภูเขาสูงซึ่งได้รับอิทธิพลจากกระแสลมเป็นประจำ กระแสลมจะทำให้เปลือกโลกเกิดการกัดกร่อนได้เช่นกัน “กระแสลมนั้นทำให้เปลือกโลกกร่อนได้ และถ้ากระแสลมแรงหรือมีความเร็วสูงจะทำให้เกิดการกร่อนได้มาก แต่ถ้าความแรงของกระแสลมลดลงหรือมีสิ่งกีดขวางความเร็วของกระแสลมจะทำให้เปลือกโลกกร่อนได้น้อยกว่า” การกร่อนเนื่องจากกระแสลมจะเกิดกับผิวดินที่แห้งแล้งขาดพืชปกคลุม
ตะกอนที่เกิดจากการสึกกร่อนผุพัง ด้วยอิทธิพลของกระแสน้ำ ปฏิกิริยาเคมี ความร้อน และกระแสลมจะถูกพัดพาไปด้วยความแรงของกระแสน้ำหรือกระแสลม เมื่อความแรงลดลงจะเกิดการทับถมของตะกอนที่พัดพามา การเกิดการทับถมของตะกอน ตะกอนจะทับถมกันเป็นชั้นๆ ตะกอนที่มีขนาดใหญ่จะถูกพัดพาไปตกที่ใกล้ ส่วนตะกอนที่มีขนาดเล็กจะถูกพัดพาไปตกที่ไกล การทับถมของตะกอนมีลักษณะแตกต่างกันไปตามลักษณะของภูมิประเทศและกระแสน้ำที่พัดผ่าน ดังนี้
1)การทับถมของตะกอนรูปพัด เกิดจากกระแสน้ำไหลจากภูเขาตกลงสู่ที่ราบต่ำกว่า มีร่องน้ำ ขนาดใหญ่กว่าร่องน้ำเดิมมาก ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนรูปพัด
2)การทับถมของตะกอนรูปดินดอนสามเหลี่ยม เกิดจากการทับถมของตะกอนที่บริเวณปากแม่น้ำ เป็นรูปสามเหลี่ยม เนื่องจากกระแสน้ำบริเวณปากแม่น้ำเคลื่อนที่ช้าลง จึงเกิดการทับถมของตะกอนอยู่ตลอดเวลา
ที่มา : http://www.myfirstbrain.com/

ทรัพยากรหิน

นักธรณีวิทยาจำแนกหินตามลักษณะการเกิดได้ 3 ประเภท คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร อย่างไรก็ตามกระบวนการไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ หินอัคนี หินชั้น และหินแปร การเปลี่ยนแปลงประเภทหินอาจเกิดขึ้นย้อนกลับไปมาได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม ดังภาพหินอัคนี เป็นหินชนิดแรกที่เกิดขึ้นในโลก เกิดจากหินหนืดที่เรียกว่า “แมกมา” ในชั้นแมนเทิล แทรกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก เรียกว่า “ลาวา” บางครั้งเกิดการเย็นตัวก่อนถึงผิวโลก เกิดเป็นหินเนื้อหยาบมีหลากหลายลาวาที่เย็นตัวที่ผิวโลกมีทั้งพวกที่เย็นตัวเร็วและเย็นตัวช้า ทำให้ลักษณะเนื้อหินแตกต่างกันหินอัคนี เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดที่ดันขึ้นมาสู่ผิวโลก มีทั้งชนิดที่เป็นรูปผลึกและไม่มีรูปผลึก โดยเฉพาะหินภูเขาไฟจะไม่มีรูปผลึก ชนิดที่มีรูปผลึกขนาดของผลึกจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเย็นตัวของหินหนืด เนื่องจากเนื้อของหินมีลักษณะแตกต่างกัน จึงสามารถจัดจำแนกหินอัคนีเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
>หินแกรนิต (Granite)
>หินบะซอลต์ (Basalt)
>หินออบซิเดียน (Obsidian)
>หินสคอเรีย (Scoria)
>หินพัมมิซ (Pumice)
>หินไรโอไลต์ (Rhyolite)
>หินแอนดีไซต์ (Andesite)
การเลือกหินอัคนีไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมนั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
#สมบัติของหิน
#ปริมาณของหินที่มีอยู่ในท้องถิ่น
#ความสะดวกในการทำให้หินมีขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ
#การใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทรัพยากรแร่

ทรัพยากรดิน

ทรัพยากรน้ำ

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสถานะ 1


พลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสถานะ 2


พลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสถานะ 3


ระบบกับการเปลี่ยนแปลง

ระบบ (system) หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายในขอบเขตที่ต้องการศึกษา การกำหนดองค์ประกอบของระบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา ซึ่งต้องกำหนดหรือระบุให้ชัดเจน
สิ่งแวดล้อม (environment) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกขอบเขตที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างการกำหนดองค์ประกอบของระบบ เช่น การศึกษาการละลายของน้ำตาลทรายในน้ำ โดยสารละลายน้ำตาลทรายจะเป็นระบบ ส่วนบีกเกอร์ ภาชนะ และแท่งแก้วจัดเป็นสิ่งแวดล้อม
ภาวะของระบบ หมายถึง สมบัติต่าง ๆ ของสาร และปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติของระบบ เช่น ความดันบรรยากาศ อุณหภูมิ ปริมาณของสาร เมื่อระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วจะมีการถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้
ก. ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน คือ ระบบที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ระบบจะถ่ายเทความร้อนให้แก่สิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมร้อนขึ้น
ข. ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน คือ ระบบที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ระบบจะดูดความร้อนจะสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งแวดล้อมนั้นเย็นลง
ประเภทของระบบ
การเปลี่ยนแปลงพลังงานระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อม จะใช้การถ่ายเทมวลของสารเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของระบบ ดังนี้
- ระบบเปิด (open system) หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทมวลให้กับสิ่งแวดล้อม
- ระบบปิด (close system) หมายถึง ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลให้กับสิ่งแวดล้อม
- ระบบโดดเดี่ยว ( lone system) หมายถึง ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลและพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม

ที่มา : http://www.electron.rmutphysics.com

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ทำไมหน้าหนาวมืดเร็ว หน้าร้อนมืดช้า


แกนโลกจะเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ โดยในรอบ 1 ปี จะมีการแบ่งโซนการหันเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์เป็น 12 โซน ก็คือ 12 เดือน โดยเริ่มจากเดือน มกราคม จะหันเอียงโซนไต้ของโลกเข้าหาดวงอาทิตย์ บรรยากาศในโซนนั้น เช่นทวิป อันทากติก ก็จะอุ่น คือหน้าร้อน จะเห็นพระอาทิตย์เกือบ 24 ชั่วโมง ส่วนทางเหนือของโลก ที่เรียวว่าขั้วโลกเหนือ จะไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะความกลมของโลกระดับเส้นศูนย์สูตร บดบัง แต่ยังพอเห็นความสว่างเพีงแค่รำไร แต่ไม่เห็นดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับประเทศที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ก็จะเห็นพระอาทิตย์น้อยลง ขึ้นอยู่ว่าไกลใกล้กับส้นศูนย์สูตรเท่าใด เช่น ประเทศในแถบเอเซีย เช่นประเทศไทย จะเริ่มเห็นพระอาทิตย์ประมาณ 6 โมงครึ่ง พระอาทิตย์ตก 6 โมง ประเทศทางแถบยุโรป พระอาทิตย์จะขึ้น ก็ 10 โมงเช้า พอ 3 โมงเย็นก็หายไปแล้วเดือนกุมภาพันธ์ พระอาทิตย์ก็จะมาอยู่แถวๆ ออสเตรเลีย มีนาคม ก็จะมาอยู่เหนือประเทศฟิลิปินส์ เมษายน ก็จะมาอยู่เหนือประเทศไทย พฤษภาคม ก็จะไปอยู่เหนืออินเดีย มิถุนายน ก็จะอยู่เหนือเมืองจีน ทางโน้นก็ร้อนตับแตก ตี 3 พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว กว่าจะลับฟ้าก็ 4 ทุ่ม ส่วนที่ขั้วโลกเหนือ ก็จะเห็นพระอาทิตย์ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เหมือนขั้วโลกใต้ เพราะแกนโลกเอียง 11 เปอร์เซ็นต์ แล้วแนวพระอาทิตย์ก็จะไล้ลงใต้อีก ผ่านประเทศไทยอีกครั้งก็เดือนสิงหาคม แต่ตอนนั้นมันไม่ร้อนบ้าเลือดอย่างเดือนเมษาเพราะเป็นหน้าฝน ยังพอมีน้ำฝนและเมฆบดบังแสงอาทิตย์ได้บ้าง ลองเอาส้มหรือลูกบอลล์ มาทดลองกับหลอดไปดู เอาแกนใต้หันเข้าหา และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแกนเหนือ ในขณะที่หมุนลูกทรงกลมนี้ไปเรื่อยๆ จะได้คำตอบว่าทำไมหน้าหนาว กลางคืนสั้นกว่ากลางวันและหน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน


ที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/18465.html

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พิธีถวายราชสดุดีสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในวันที่ 23 ตุลาคม 2552 ณ หอประชุมอำเภอภูเขียว ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวโรกาสคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ชวนดู ฝนดาวตก โอไรโอนิดส์ Orionid Meteors shower

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. (องค์การ มหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เชิญชวนคนไทยทั่วประเทศชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์หรือฝนดาวตกนายพราน ซึ่งเป็นฝนดาวตกประจำเดือนตุลาคม สำหรับปรากฏการณ์ดังกล่าวจะชมได้ในคืนวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 ช่วงเวลาสังเกตตั้งแต่ 22.00 น. ถึงเช้ามืดของวันใหม่

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

การเลือตั้งคณะกรรมการนักเรียน

ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552 ฝ่ายกิจการนักเรียน โรงเรียนภูเขียวจัดกิจกรรมการเลือกตั้งประธานคณะกรรมการนักเรียน ปีการศึกษา 2552 ณ บริเวณหน้าเสาธง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

การประชุมผู้ปกครองนักเรียน ชั้น ม.2/8

ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โรงเรียนภูเขียวได้จัดการประชุมผู้ปกครองนักเรียน ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2552 มีจุดประสงค์เพื่อให้ครูที่ปรึกษาและผู้ปกครอง ปรึกษา หารือและหาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนร่วมกัน ซึ่งผู้ปกครองนักเรียน ชั้น ม.2/8 ได้ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ธาตุ


ธาตุ (Element) เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่า อะตอม(Atom) และเป็นอะตอมชนิดเดียวกันล้วน ๆ ธาตุยังเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ และไม่สามารถแยกออกเป็นสารอื่นได้อีกโดยวิธีทางเคมี

ธาตุเป็นองค์ประกอบหลักของสารทุกชนิด ธาตุเกือบทุกชนิดนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาคันพบแล้ว ปัจจุบันมีการค้นพบธาตุแล้วไม่ต่ำกว่า 119 ธาตุ เป็นธาตุที่อยู่ในธรรมชาติ 89 ธาตุ ที่เหลือเป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น ธาตุบางธาตุอาจค้นพบแล้ว แต่ไม่มีการเปิดเผยเพราะเป็นประโยชน์ทางธุรกิจ

ปรอท กำมะถัน ดีบุก
ธาตุแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ
1. ของแข็ง เช่น ตะกั่ว (Pb), เงิน (Ag) และดีบุก (Sn) เป็นต้น

2. ของเหลว ได้แก่ โบรมีน (Br2) และปรอท (Hg) เป็นต้น

3. ก๊าซ เช่น ไนโตรเจน (N2), ฮีเลียม (He) และออกซิเจน (O2) เป็นต้น
ธาตุส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ นักเรียนทราบหรืไม่ว่า ธาตุยังแบ่งออกตามสมบัติใดได้

ที่มา : http://school.obec.go.th/sawatee/elearning/WebApplications2/element.aspx

http://thapring.com/Pingpong_web/M&CM2_Web/Content_02.html

สมบัติของธาตุ

สมบัติของสาร
สมบัติของโลหะ
1.มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ (ยกเว้นปรอท เป็นของเหลว)
2.มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
3.แข็งและเหนียวสามารถตีเป็นแผ่นบางๆ หรือดึงให้เป็นเส้นได้
4.นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี การนำไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
5.มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างจุดเดือดและจุดหลอมเหลวกว้าง
6.เคาะมีเสียงดังกังวาน
7.ขัดเป็นมันวาว
8.มีความหนาแน่นสูง แต่บางชนิดมีความหนาแน่นต่ำ ได้แก่ โลหะเบา เช่นธาตุหมู่ I A และ II A
9.มีค่า EN ต่ำ จึงเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายเกิดเป็นไอออนบวก เช่น
10.ทำปฏิกิริยากับกรดเกิดก๊าช ไฮโดรเจน ยกเว้นโลหะมีตระกูล
สมบัติของอโลหะ
1.มีทั้ง 3 สถานะ คือของแข็งเช่น คาร์บอน กำมะถันของเหลว เช่น โบรมีนก๊าช เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน
2.มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ ยกเว้นแกรไฟต์
3.เปราะ แตกง่าย ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นไม่ได้
4.ไม่นำไฟฟ้าและความร้อน ยกเว้นแกรไฟต์
5.มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างจุดเดือด และจุดหลอมเหลวแคบ
6.เคาะไม่มีเสียงกังวาน
7.ผิวไม่มันวาว
8.มีความหนาแน่นต่ำ
9. มีค่า EN สูง จึงรับอิเล็กตรอนได้ง่ายเกิดเป็นไอออนลบ
ธาตุกึ่งโลหะ
โบรอน (B) ซิลิคอน (Si) เจอร์เมเนียม (Ge) สารหนู (As หรือ อาร์เซนิก) พลวง (Sb หรือ แอนติโมนี)
ซิลีเนียม (Se) และเทลูเรียม (Te) จัดเป็นธาตุกึ่งโลหะเพราะมีสมบัติบางประการเหมือนอโลหะ ซิลิคอนและเจอร์เมเนียมใช้ทำส่วนประกอบของอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นธาตุกึ่งตัวนำ ซึ่งหมายความว่า มันจะสามารถนำไฟฟ้าได้เฉพาะในภาวะหนึ่งเท่านั้น ธาตุกึ่งโลหะเหล่านี้จะอยู่บริเวณเส้นขั้นบันได (ซึ่งทางซ้ายของเส้นขั้นบันไดจะเป็นโลหะ ส่วนทางขวาของเส้นบันไดจะเป็นอโลหะ)