วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภูเขาไฟ

ภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดในชั้นแมนเทิลซึ่งอยู่ภายใต้โลกที่เรียกว่า “แมกมา” มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก พยายามดันขึ้นมาตามรอยแตกและแทรกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือระเบิดเกิดขึ้น ทำให้หินหนืดไหลออกมาสู่ผิวโลกที่เรียกว่า “ลาวา” ไหลบ่าจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ สิ่งที่พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟนอกจากลาวาแล้ว ยังมีเถ้าถ่าน ฝุ่นละออง ไอน้ำ เศษหิน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ แก๊สไนโตรเจน และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์


ภาพโครงสร้างของภูเขาไฟ

บริเวณที่เกิดภูเขาไฟ ภูเขาไฟมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากในบริเวณแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกลงไปใต้พื้นมหาสมุทร เนื่องจากถูกหลอมเหลวด้วยความร้อนจากแก่นโลกให้เป็นหินหนืด ทำให้หินหนืดแทรกตัวขึ้นมาได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นบริเวณที่ห่างจากรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกก็มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้ โดยการดันของหินหนืดที่มีอุณหภูมิและความดันสูงออกมาตามรอยแยกของผิวโลก
การระเบิดของภูเขาไฟในประเทศไทย นักธรณีวิทยาพบว่า เมื่อประมาณล้านปีมาแล้วประเทศไทยเคยภูเขาไฟระเบิดเช่นกันที่จังหวัดลำปางและจังหวัดบุรีรัมย์ เคยมีหินหนืดดันแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน แต่การระเบิดไม่รุนแรง
ลักษณะก่อนภูเขาไฟระเบิด นักธรณีวิทยาพบว่า ก่อนภูเขาไฟระเบิดจะเกิดแผ่นดินไหวก่อนเสมอ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของหินหนืดที่มีความดันและอุณหภูมิสูงใต้ผิวโลกพยายามแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกสู่ผิวโลก ภาพลักษณะการเกิดภูเขาไฟ

ภายหลังภูเขาไฟระเบิด
ลาวาไหลบ่าลงมาสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
เกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากการปรับตัวของชั้นหินหนืดใต้ผิวโลกกับบริเวณใกล้เคียง
เกิดแอ่งภูเขาไฟเนื่องจากภายหลังการระเบิดจะเกิดการยุบตัวของยอดภูเขาไฟแทนที่หินหนืดที่ไหลออกไป

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ1 มีนาคม 2555 เวลา 03:30

    สรุปสั้นดีเนอะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ1 มีนาคม 2555 เวลา 03:36

      สั้นแบบว่าไม่ค่อยเข้าใจอ่ะ จะสอบอยู่แล้ว 55555555555555.

      ลบ