วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผ่นดินไหว

ผลกระทบจาการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก มีดังนี้
1.เกิดภูเขา เนื่องจากการชนกันทำให้เกิดแรงดัน แผ่นเปลือกโลกบางส่วนถูกแรงดันดันจนโค้งขึ้น กลายเป็นภูเขา เช่น การชนกันของแผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย แผ่นยูเรเซียถูกดันให้โค้งตัวขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัยที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย

ภาพแสดงการชนกันของแผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย แผ่นยูเรเซีย

2.แผ่นเปลือกโลกบางส่วนหายไป เมื่อมีการชนกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น แผ่นที่ 1 จะซ้อนอยู่บนด้านบน ส่วนอีกแผ่นหนึ่งจะมุดซ้อนอยู่ด้านล่าง ดังเช่น การชนกันของแผ่นยูเรเซียแผ่นออสเตรเลีย พบว่า แผ่นยูเรเซียที่ซ้อนอยู่ด้านบนจะดันให้โค้งตัวขึ้น ขณะเดียวกันแผ่นออสเตรเลียจะมุดซ้อนอยู่ด้านล่าง จึงทำให้เปลือกโลกบางส่วนของแผ่นออสเตรเลียหายไป เนื่องจากไปมุดอยู่ใต้แผ่นยูเรเซียลงไปถึงชั้นแมนเทิล และได้รับความร้อนจากแก่นโลกจึงหลอมเหลวเป็นหินหนืดอยู่ใต้เปลือกโลก
3.การเกิดแผ่นดินไหว เมื่อแผ่นเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน เคลื่อนที่เข้าชนกันหรือเคลื่อนที่สวนทางกัน บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกจึงเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกอย่างฉับพลัน อันเนื่องมาจากการขยายตัวและหดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่แตกต่างกัน เปลือกโลกส่วนล่างจะขยายตัวได้มากกว่าเปลือกโลกส่วนบน เนื่องจากมีอุณหภูมิสูงกว่า และอุณหภูมิเปลือกโลกส่วนบนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อรอบต่อของแผ่นเปลือกโลก โดยบางแห่งเคลื่อนที่ออกจากกัน บางแห่งเคลื่อนที่เข้าหากัน การชนกันหรือการแยกกันของรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่น การทรุดตัว การเกิดการกระแทก ฉีกขาด และเกิดการเคลื่อนที่ตามแนวระดับไปยังบริเวณรอยต่อรอบๆ ในรูปของคลื่นที่เรียกว่า เกิดแผ่นดินไหว
บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว บริเวณที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้มาก ได้แก่ บริเวณรอยต่อระหว่างเปลือกโลก เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจะมีโอกาสกระทบกระแทกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นๆ

เครื่องมือตรวจสอบแผ่นดินไหว เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบแผ่นดินไหว เรียกว่า “ไซโมกราฟ (seismograph)” หน่วยที่ใช้วัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว คือ มาตราริกเตอร์และมาตราเมอแคลลี ในประเทศไทยใช้ มาตราริกเตอร์ ซึ่งในประเทศไทยเรามีสถานีตรวจแผ่นดินไหวทั้งหมด 7 แห่ง คือ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก นครราชสีมา นครสวรรค์ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา

ผลกระทบจากการเกิดแผ่นกินไหว ถ้าเปลือกโลกเกิดการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว จะมีผลต่ออาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างเกิดพังทลาย เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก เช่น การเกิดคลื่นสึนามิ ที่ร้ายแรงในปีที่ผ่านมา หรือดังที่เราได้ทราบจากข่าวต่างประเทศอยู่เสมอ

ที่มา : http://www.myfirstbrian.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น