วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประชุมผู้ปกครองนักเรียน ม.2/3

วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553 โรงเรียนภูเขียวได้จัดการประชุมผู้ปกครองตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2553 เพื่อแจ้งและรับทราบข้อมูลนักเรียนแก่ผู้ปกครอง และยังมีการมอบทุนปัจจัยพื้นฐาน จำนวน 18 ทุนให้กับนักเรียน ขอบคุณผู้ปกครองนักเรียน ม.2/3 ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ธาตุ (Element)

ความหมายของธาตุ
ธาตุ (Element) คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียว เดียว เช่น โซเดียม (Na) แมกนีเซียม (Mg) คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) เป็นต้น
ในการจัดธาตุออกเป็นหมวดหมู่จะอาศัยสมบัติที่คล้ายคลึงกันของธาตุแต่ละชนิดเป็นเกณฑ์ เช่น ใช้ความเป็นโลหะและอโลหะเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ โลหะ กึ่งโลหะ และอโลหะ และยังสามารถแบ่งธาตุทั้ง 3 กลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อยๆได้อีก เช่น แบ่งกลุ่มย่อยโดยใช้สถานะเป็นเกณฑ์ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา และลักษณะที่อุณหภูมิปกติ เป็นต้น ดังแผนภาพเราแบ่งธาตุออกเป็น 3 ชนิด คือ
anipink06_next.gif กึ่งโลหะ ( Metalloid หรือ Semi metal )
ตารางธาตุ
ข้อมูล http://www.br.ac.th

สารประกอบ

ความหมายของสารประกอบ
สารประกอบ (Compound)คือสารบริสุทธิ์ที่มีธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเป็นองค์ประกอบ หรือ คือ สารที่มีโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารบริสุทธิ์เนื้อเดียว เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุที่แตกต่างกัน 2 ชนิดขึ้นไป โดยใช้ปฏิกิริยาเคมี โดยที่อัตราส่วนของธาตุที่เป็นองค์ประกอบจะคงที่ สารประกอบบางทีเรียกว่า สารประกอบเคมี (Chemical Compound) ประกอบด้วย อะตอมของธาตุในสัดส่วนที่แน่นอนเชื่อมกันเป็นโมเลกุล หรือโครงสร้างขนาดใหญ่เราเรียกชื่อทางเคมี (Chemical name) โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของธาตุ เช่น เกลือแกง มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมคลอไรด์ (NaCI) เพราะประกอบด้วยธาตุโซเดียมและคลอรีน คุณสมบัติของสารประกอบอาจแตกต่างจากธาตุที่เป็นองค์ประกอบโดยสิ้นเชิง เช่น โซเดียมเป็นโลหะที่อ่อนส่วนคลอลีนเป็นก๊าซที่เป็นพิษ ธาตุทั้งสองกินไม่ได้ แต่เมื่อประกอบกันเป็นเกลือแกงกลับเป็นอาหารที่รับประทานได้
หรืออย่างเช่นน้ำ เกิดจากธาตุไฮโดรเจนและธาตุออกซิเจน เป็นธาตุ ดังนั้น น้ำจึงไม่ใช่ธาตุ แต่เป็นสารประกอบ แต่นักเรียนมีกจะตอบว่า น้ำเป็นธาตุ เพราะเคยฟังมาว่าธาตุมี 4 ธาตุคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งไม่ถูกต้องในแง่ทางวิชาเคมี
สูตรเคมี คือกลุ่มสัญลักษณ์ของธาตุที่เขียนเพื่อแสดงจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสาร
ข้อมูล http://www.br.ac.th

การผสมเทียมสัตว์

ความหมายการผสมเทียม
การผสมเทียม (Artificial insemination) หมายถึง การทำให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ ที่มนุษย์เป็นผู้ทำให้เกิดการปฏิสนธิ โดยนำน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์ตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์ไปผสมกับไข่ของสัตว์ตัวเมียที่เป็นแม่พันธุ์ โดยที่สัตว์ไม่ต้องมีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ การผสมเทียมสามารถทำได้กับสัตว์ทั้งที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายของสัตว์ เช่น การผสมเทียมปลา และการปฏิสนธิภายในร่างกายของสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การถ่ายฝากตัวอ่อน

ความหมายการถ่ายฝากตัวอ่อน
การถ่ายฝากตัวอ่อน เป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบใหม่วิธีหนึ่ง โดยมีหลักการสำคัญ คือ การนำตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ แล้วนำไปฝากใส่ใว้ในมดลูกของตัวเมียตัวอื่นที่เตรียมไว้เพื่อให้ตั้งท้องแทนแม่พันธุ์ ซึ่งทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากแม่พันธุ์ได้อย่างคุ้มต่า เพราะแม่พันธุ์มีหน้าที่เพียงผลิตตัวอ่อน โดยไม่ต้องตั้งท้อง ซึ่งวิธีการถ่ายฝากตัวอ่อนนี้จะทำได้แต่เฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ออกลูกเป็นตัว และออกลูกครั้งละ 1 ตัว และใช้เวลาตั้งท้องนาน

ข้อมูล http://www.panyathai.or.th และ www.br.ac.th

ตารางธาตุ (TABLE OF THE ELEMENTS)


นักเรียนสามารถเข้าไปสืบค้นเกี่ยวกับเรื่องธาตุเพิ่มเติมได้ โดยคลิกที่คลังบทความของบล็อก แล้วเลือกคลิกที่ 2009 แล้วคลิกที่ สิงหาคม นักเรียนก็จะพบข้อมูลที่ต้องการศึกษามีมากมายเลย

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

การสืบพันธุืแบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องมีการรวมกันของตัวอสุจิและเซลล์ไข่
1.การแตกหน่อ (Budding)

2.การแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน (Binary fission) เช่น อะมีบา ยูกลีนา พารามีเซียม เกิดขึ้นโดยนิวเคลียสของเซลลืจะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาสซึมจะแบ่งตาม ได้เป็นตัวใหม่ 2 เซลล์

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เยี่ยมบ้านนักเรียน ม.2/3

ปีการศึกษา 2553 งานระบบดูแลผู้เรียน โรงเรียนภูเขียว มอบหมายให้ครูที่ปรึกษาดำเนินการเยี่ยมบ้านนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 มีนักเรียนชายจำนวน 22 คน และนักเรียนหญิงจำนวน 24 คน รวม 46 คน ได้ทำการสัมภาษณ์บิดา มารดา ผู้ปกครองและเพื่อนบ้านใกล้เคียงของนักเรียน ทำให้ทราบข้อมูล สภาพครอบครัวและปัญหาของนักเรียน ซึ่งสามารถนำไปประกอบการพิจารณาให้การช่วยเหลือและหาแนวทางแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกต้องและตรงตามสาเหตุ ขอขอบคุณผู้ปกครองนักเรียนและขอบใจนักเรียนชั้น ม.2/3 โรงเรียนภูเขียวทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดี

วันไหว้ครู ปีการศึกษา 2553

ร่างกายของเรา

ระบบการย่อยอาหาร การทำให้สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลงจนกระทั่งแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้


ระบบการหายใจ เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกาย ส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหารได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา การหายใจจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้าง 2 ชนิดคือ กล้ามเนื้อกะบังลม และกระดูกซี่โครง ซึ่งมีกลไกการทำงานของระบบหายใจ ดังนี้

ระบบการกำจัดของเสีย การกำจัดของเสียในร่างกายเกิดขึ้นได้หลายทาง เช่น ทางไต ทางผิวหนัง ทางปอด ทางลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

ระบบประสาท คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็วช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถตอบสนองได้

ระบบโครงกระดูก ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อของร่างกายทำงานสัมพันธ์กันโดยที่โครงกระดูกเป็นโครงสร้างที่ใช้ค้ำจุนร่างกาย ให้คงรูปร่างป้องกันส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย และช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยการทำงานร่วมกันกับกล้ามเนื้อ
การสืบพันธุ์ เป็นกระบวนการผลิตสิ่งมีชีวิตที่จะแพร่ลูกหลานและดำรงเผ่าพันธุ์ของตนไว้ โดยต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโพทาลามัส โดยจะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมเพศชายและหญิงให้ผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นหนุ่มสาวพร้อมที่จะสืบพันธุ์ได้ ต่อมเพศในชาย คือ อัณฑะ ต่อมเพศในหญิง คือ รังไข่

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

อบรม " รู้จัก รู้รักษ์ พิทักษ์ปิโตรเลียม"

เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการตามโครงการ "รู้จัก รู้รักษ์ พิทักษ์ปิโตรเลียม" ประจำปี 2553 ในระหว่างวันที่ 19-20 มกราคม พ.ศ.2553 ณ โรงแรมสยามริเวอร์ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งกรมเชื้อเพลิงได้ดำเนินการเผยแพร่ให้ความรู้ ความเข้าใจด้านปิโตรเลียม พลังงานทดแทนและอนุลักษณ์พลังงาน ตลอดจนวิธีการประหยัดพลังงาน เพื่อให้ครูผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่นักเรียนและชุมชนต่อไป

วันครู

แสง (Light)

แสง
แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางในรูปเคลื่อนที่มีอัตราเร็วสูง สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่บนโลกไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่มีแสง แหล่งกำเนิดแสงที่สำคัญที่สุดของเราคือดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม เราสามารถผลิตแสงได้เองเช่นกันโดยใช้ไฟฟ้า

ลำแสง
ถ้าลำแสงผ่านควันหรือฝุ่นละออง จะเห็นลำแสงนี้เป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แสงสามารถผ่านวัตถุบางชนิดได้ แต่แสงไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้ เช่น แผ่นเหล็ก ผนังคอนกรีต กระดาษหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงไว้บางส่วน และเกิดเงาได้เมื่อใช้วัตถุแสงกั้นลำแสงไว้
วัตถุโปร่งใส หมายถึง วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่เป็นตรงเส้นผ่านไปได้ เช่น อากาศ น้ำ เป็นต้น เราสามารถมองผ่านวัตถุโปร่งใส เห็นสิ่งต่างๆได้ (ภาพที่ 1)
แสงสามารถผ่านวัตถุโปร่งแสงได้ เช่น กระจกฝ้า กระดาษฝ้า พลาสติกฝ้า วัตถุเหล่านี้ จะกระจายแสงออกไปโดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัตถุโปร่งแสง
ภาพที่ 1 แสดงวัตถุโปร่งใส (วัชรา ทับอัตตานนท์ : 2543, 15)

สีของแสง
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งประกอบด้วยแสง 7 สี ผสมอยู่ด้วยกัน เราสามารถใช้ปริซึมแยกลำแสงขาวออกเป็นแสงทั้ง 7 สีได้ โดยจะเห็นเป็นแถบของแสงสีทั้งหมดเรียงติดกัน เราเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum) ในธรรมชาติสิ่งที่มีสมบัติเป็นปริซึม ได้แก่ หยดน้ำฝน ละอองไอน้ำ โดยภายหลังจากฝนตกเมื่อแสงแดดส่องกระทบหยดน้ำฝนหรือละออง ไอน้ำ เราจะมองเห็นแสงแดดเป็นแถบสีทั้ง 7 สี ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า ที่เรียกว่า รุ้งกินน้ำ (ภาพที่ 12.2) สำหรับในอากาศหรือสูญอากาศ แสงทั้ง 7 สี จะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 3 x 108 เมตรต่อวินาที เท่ากันทุกสี แต่หากเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก แสงแต่ละสีจะมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน โดยจะมีอัตราเร็วน้อยกว่าการเคลื่อนที่ในสุญญากาศ(สุญญากาศ คือ บริเวณที่ว่างเปล่าปราศจากอากาศ) เมื่อแสงเคลื่อนที่จากอากาศไปยังตัวกลาง หรือจากตัวกลางไปยังอากาศ หรือเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง 2 ชนิด จะทำให้อัตราเร็วของแสงและทิศการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนไป เราเรียนว่า แสงเกิดการหักเห ในตัวกลางที่หนาแน่นนั้น แสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสีม่วง ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการกระจายแสงสีขาวออกเป็น 7 สี นั้นเอง
ภาพที่ 2 การแสดงการกระจายของแสงขาว (บุญถึง แน่นหนา : 2544, 60)

เราอาจใช้แสงเพียง 3 สีรวมกันเป็นแสงขาวได้ เรียกว่า สีปฐมภูมิ(primarycolours) ได้แก่ แสงสีน้ำเงิน แสงสีเขียว และแสงสีแดง เมื่อมีปฐมภูมิทั้ง 3 นี้รวมกันจะได้แสงขาว (ภาพที่ 3) ถ้านำแสงสีปฐมภูมิ 2 สี มารวมกันจะได้ สีทุติยภูมิ(secondary colours) ซึ่งแสงของสีที่จะได้จากการผสมสีทุติยภูมิจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง
ภาพที่ 3 แสดงแสงขางประกอบด้วยแม่สีทั้งสามตามสัดส่วนที่เหมาะสม (บุญถึงแน่นหนา : 2544, 62)

การมองเห็นสีแดง
เรามองเห็นวัตถุโปร่งแสงด้วยตังเองไม่ได้เพราะมีแสงส่องมากระทบและสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยน์ตาของเรา และสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนออกไปมากที่สุด สะท้อนแสงสีค้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย และดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด ส่วนวัตถุสีแดงจะสะท้อนแสงสีแดงออกไปมากที่สุด มีสีข้างเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อยและดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมดสำหรับสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ภาพที่ 4 แสดงการมองเห็นสีแดง (มานี จันทามล, 2545 : 103)

การเคลื่อนที่ของแสง
แสงที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง เมื่อเดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่ต่างกัน จะเกิดการหักเห แต่จะผ่านเป็นเส้นตรงเมื่อเดินผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นเท่ากันหรือเป็นตัวกลางชนิดเดียวกัน เลนส์และปริซึมเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของลำแสงที่ส่องผ่าน ต่างกันตรงที่ปริซึมสามารถแยกลำแสงที่ส่องผ่านออกเป็นแสงสีต่างๆ ตามองค์ประกอบของแสงนั้น ๆ หรือที่เรียกว่า สเปกตรัม (spectrum) (ภาพที่ 5)
ภาพที่ 5 แสดงปริซึมแยกลำแสง เรียกว่า สเปกตรัม (บุญถึง แน่นหนา : 2544,62)

ที่มา http://www.atom.rmutphysics.com

การสะท้อนแสงและการหักเหของแสง

การสะท้อนแสง
แสงที่เดินทางจากตัวกลางที่โปร่งแสงไปสู่ตัวกลางที่โปร่งใส เช่น จากแก้วไปสู่อากาศ ถ้ามุมตกกระทบน้อย กว่า 42 องศา แสงบางส่วนจะสะท้อนกลับและบางส่วนจะทะลุออกอากาศ แต่ถ้าที่มุมแก้วตกกระทบแก้วกับ 42 องศา แสงจะสะท้อนกลับคืนสู่แก้วหมดไม่มีแสงออกจากอากาศเลย ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า การสะท้อนกลับหมด นั้นคือ รอยต่อแก้วกับอากาศทำหน้าที่เสมือนการตกกระทบที่จะทำให้แสงสะท้อนกลับหมด ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกลาง (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 แสดงการสะท้อนกลับหมด (บุญถึง แน่นหนา, 2544 : 56)

เมื่อแสงตกกระทบวัตถุ แสงบ่างส่วนจะสะท้อนจากวัตถุ ถ้าแสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่นัยน์ตาจะเกิดการมองเห็นและรับรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นได้
ภาพที่ 2 แสดงการสะท้อนของแสง (มานี จันทวิมล, 2545 : 103)

จากรูป เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสงผิงเรียบสามารถใช้เส้นตรงและหัวลูกศรแสดงทิศทางของรังสีตกกระทบและรังสีสะท้อน เมื่อลากเส้นทางเดินของแสงเมื่อตกกระทบวัตถุจะเกิดมุม 2 มุม โดยเรียกมุมอยู่ระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นปกติกว่า”มุมตกกระทบ” และเรียกมุมที่อยู่ระหว่างรังสีสะท้อนกับเส้นปกติว่า”มุมสะท้อน” (ภาพที่12.10) ซึ่งการสะท้อนแสงบนผิววัตถุอธิบายได้ด้วย
กฎการสะท้อน ดังนี้
1. รังสีตกกระทบ เส้นปกติ และรังสีสะท้อนอยู่ในระนาบเดียวกัน 2. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน เมื่อแสงตกกระทบวัตถุผิวเรียบเกิดการสะท้อนของแสงอย่างเป็นระเบียบ แต่ถ้าแสงตกกระทบพื้นผิวขรุขระ แสงสะท้อนจะสะท้อนอย่างกระจัดกระจายดัง (ภาพที่ 3)
ภาพที่ 3แสดงการสะท้อนของแสง (บุญถึง แน่นหนา : 2544, 53)

มุมวิกฤต (criticsl angle) เป็นมุมตกกระทบค่าหนึ่งทำให้เกิดมุมหักเหมีค่าเป็น 90 องศา มุมวิกฤตจะเกิดขึ้นได้เมื่อรังสีตกกระทบผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า เช่น เมื่อแสงผ่านแก้วสู่อากาศด้วยมุมวิกฤต จะทำให้แนวรังสีหักเหทับอยู่บนรอยต่อของตัวกลางทั้งสอง การสะท้อนกลับหมด (total reflection) เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า เมื่อแสงเคลื่อนที่ถึงรอยต่อระหว่างตัวกลางจะเกิดการสะท้อนกลับสู่ตรงกลางเดิม การสะท้อนกลับหมดจะเกิดขึ้นเมื่อมุมตกกระทบมีค่ามากกว่ามุมวิกฤต ทำให้ลำแสงไม่หักเหเข้าไปในตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แต่เกิดการสะท้อนกลับหมดแทน เช่น การสะท้อนกลับหมดของแสงในเส้นใยนำแสงในการแสดงดนตรีบนเวที (ภาพที่ 4)
ภาพที่ 4 แสดงการสะท้อนกลับมาของแสง(บุญถึง แน่นหนา, 2544 : 53)

มิราจ (mirage) หรือภาพลวงตา เป็นปรากฏการณ์ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงเนื่องจากชั้นของอากาศที่แสงเดิมทางผ่านมีอุณหภูมิต่างกัน แล้วเกิดการสะท้อนกลับหมด เช่น
- การมองเห็นต้นไม้กลับหัว
- การมองเห็นเหมือนมีน้ำหรือน้ำมันนองพื้นถนน ในวันที่มีอากาศร้อนจัด (ภาพที่ 5)
- การมองเห็นภาพบิดเบี้ยว เนื่องจากไอของความร้อนขยายตัวลอยสูงขึ้นจากผิวถนน
ภาพที่ 5 แสดงการเกิดภาพลวงตา (บุญถึง แน่นหนา, 2544 : 57)

การหักเหของแสง
แสงเมื่อเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังตัวกลางอีกชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกลางโปร่งใสและมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน ความเร็วในการเดินทางของแสงจะเปลี่ยนไป เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ ถ้าแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปหาตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยแสงจะหักเหออกจาเส้นปกติ ดังนั้นแสงเมื่อเดินทางในตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก ความเร็วของแสงจะลดลง จึงทำให้ลำแสงเบนไปจากแนวเดิม เรียกว่า แสงเกิดการหักเห (ภาพที่ 6)

ภาพที่ 6 แสดงการหักเหแสงในตัวกลางต่างกัน (ยุพา วรยศ, 2547 : 127)


ภาพที่ 7 แสกงการหักเหของแสง (บุญถึง แน่นหนา, 2544 : 56)
แสงเมื่อเดินทางตกกระทบผิวหน้าของวัตถุอันหนึ่ง เช่น แสงเดินทางจากอากาศมากระทบแก้วโปร่งใส แสงส่วนหนึ่งจะสะท้อนกลับ อีกส่วนหนึ่งจะเดินทางผ่านเข้าไปในแก้ว และแสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ เมื่อแสงเดินทางออกจากแก้วมาสู่อากาศ แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ ลำแสงก่อนตกกระทบแก้ว และลำแสงที่ออกจากแก้วจึงมีลักษณะขนานกัน เมื่อจุ่มหลอดดูดลงไปในน้ำที่บรรจุอยู่ในถ้วยแก้วจึงมองดูเหมือนกับว่าหลอดดูดส่วนที่จมอยู่ในน้ำโค้งงอ มีขนาดใหญ่กว่าส่วนที่อยู่เหนือน้ำ และปลาย ล่างสุดของหลอดดูดสูงขึ้นมากันแก้วที่เป็นเช่นนี้เพราะแสงจากหลอดดูดเกิดการหักเห ขณะเดินทางผ่านน้ำผ่านแก้ว และผ่านอากาศมาเข้าตาของเรา (ภาพที่ 7 ก) การหักเหของแสงทำให้เรามองเห็นภาพของวัตถุอันหนึ่งที่จมอยู่ก้นสระน้ำอยู่ตื้นกว่า ความเป็นจริง (ภาพที่ 7 ข) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงจากก้นสระว่ายน้ำจะหักเหเมื่อเดินทางจากน้ำสู่อากาศ ทั้งนี้เพราะความเร็วของแสงที่เดินทางในอากาศเร็วกว่าเดินทางในน้ำ จึงทำให้้แสงช่วงที่ออกจากน้ำสู่อากาศหักเหออกจากเส้นปกติ จึงทำให้เห็นภาพของวัตถุอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง (ภาพที่ 8)
ภาพที่ 8 แสดงการหักเหของแสงทำให้เราเห็นวัตถุใต้น้ำผิด ไปจากค่าความจริง (บุญถึง แน่นหนา : 2544, 56)