วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ทำไมหน้าหนาวมืดเร็ว หน้าร้อนมืดช้า


แกนโลกจะเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ โดยในรอบ 1 ปี จะมีการแบ่งโซนการหันเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์เป็น 12 โซน ก็คือ 12 เดือน โดยเริ่มจากเดือน มกราคม จะหันเอียงโซนไต้ของโลกเข้าหาดวงอาทิตย์ บรรยากาศในโซนนั้น เช่นทวิป อันทากติก ก็จะอุ่น คือหน้าร้อน จะเห็นพระอาทิตย์เกือบ 24 ชั่วโมง ส่วนทางเหนือของโลก ที่เรียวว่าขั้วโลกเหนือ จะไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะความกลมของโลกระดับเส้นศูนย์สูตร บดบัง แต่ยังพอเห็นความสว่างเพีงแค่รำไร แต่ไม่เห็นดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับประเทศที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ก็จะเห็นพระอาทิตย์น้อยลง ขึ้นอยู่ว่าไกลใกล้กับส้นศูนย์สูตรเท่าใด เช่น ประเทศในแถบเอเซีย เช่นประเทศไทย จะเริ่มเห็นพระอาทิตย์ประมาณ 6 โมงครึ่ง พระอาทิตย์ตก 6 โมง ประเทศทางแถบยุโรป พระอาทิตย์จะขึ้น ก็ 10 โมงเช้า พอ 3 โมงเย็นก็หายไปแล้วเดือนกุมภาพันธ์ พระอาทิตย์ก็จะมาอยู่แถวๆ ออสเตรเลีย มีนาคม ก็จะมาอยู่เหนือประเทศฟิลิปินส์ เมษายน ก็จะมาอยู่เหนือประเทศไทย พฤษภาคม ก็จะไปอยู่เหนืออินเดีย มิถุนายน ก็จะอยู่เหนือเมืองจีน ทางโน้นก็ร้อนตับแตก ตี 3 พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว กว่าจะลับฟ้าก็ 4 ทุ่ม ส่วนที่ขั้วโลกเหนือ ก็จะเห็นพระอาทิตย์ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เหมือนขั้วโลกใต้ เพราะแกนโลกเอียง 11 เปอร์เซ็นต์ แล้วแนวพระอาทิตย์ก็จะไล้ลงใต้อีก ผ่านประเทศไทยอีกครั้งก็เดือนสิงหาคม แต่ตอนนั้นมันไม่ร้อนบ้าเลือดอย่างเดือนเมษาเพราะเป็นหน้าฝน ยังพอมีน้ำฝนและเมฆบดบังแสงอาทิตย์ได้บ้าง ลองเอาส้มหรือลูกบอลล์ มาทดลองกับหลอดไปดู เอาแกนใต้หันเข้าหา และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแกนเหนือ ในขณะที่หมุนลูกทรงกลมนี้ไปเรื่อยๆ จะได้คำตอบว่าทำไมหน้าหนาว กลางคืนสั้นกว่ากลางวันและหน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน


ที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/18465.html

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พิธีถวายราชสดุดีสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในวันที่ 23 ตุลาคม 2552 ณ หอประชุมอำเภอภูเขียว ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวโรกาสคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ชวนดู ฝนดาวตก โอไรโอนิดส์ Orionid Meteors shower

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. (องค์การ มหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เชิญชวนคนไทยทั่วประเทศชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์หรือฝนดาวตกนายพราน ซึ่งเป็นฝนดาวตกประจำเดือนตุลาคม สำหรับปรากฏการณ์ดังกล่าวจะชมได้ในคืนวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 ช่วงเวลาสังเกตตั้งแต่ 22.00 น. ถึงเช้ามืดของวันใหม่

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552