วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ธาตุ


ธาตุ (Element) เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่า อะตอม(Atom) และเป็นอะตอมชนิดเดียวกันล้วน ๆ ธาตุยังเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ และไม่สามารถแยกออกเป็นสารอื่นได้อีกโดยวิธีทางเคมี

ธาตุเป็นองค์ประกอบหลักของสารทุกชนิด ธาตุเกือบทุกชนิดนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาคันพบแล้ว ปัจจุบันมีการค้นพบธาตุแล้วไม่ต่ำกว่า 119 ธาตุ เป็นธาตุที่อยู่ในธรรมชาติ 89 ธาตุ ที่เหลือเป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น ธาตุบางธาตุอาจค้นพบแล้ว แต่ไม่มีการเปิดเผยเพราะเป็นประโยชน์ทางธุรกิจ

ปรอท กำมะถัน ดีบุก
ธาตุแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ
1. ของแข็ง เช่น ตะกั่ว (Pb), เงิน (Ag) และดีบุก (Sn) เป็นต้น

2. ของเหลว ได้แก่ โบรมีน (Br2) และปรอท (Hg) เป็นต้น

3. ก๊าซ เช่น ไนโตรเจน (N2), ฮีเลียม (He) และออกซิเจน (O2) เป็นต้น
ธาตุส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ นักเรียนทราบหรืไม่ว่า ธาตุยังแบ่งออกตามสมบัติใดได้

ที่มา : http://school.obec.go.th/sawatee/elearning/WebApplications2/element.aspx

http://thapring.com/Pingpong_web/M&CM2_Web/Content_02.html

สมบัติของธาตุ

สมบัติของสาร
สมบัติของโลหะ
1.มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ (ยกเว้นปรอท เป็นของเหลว)
2.มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
3.แข็งและเหนียวสามารถตีเป็นแผ่นบางๆ หรือดึงให้เป็นเส้นได้
4.นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี การนำไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
5.มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างจุดเดือดและจุดหลอมเหลวกว้าง
6.เคาะมีเสียงดังกังวาน
7.ขัดเป็นมันวาว
8.มีความหนาแน่นสูง แต่บางชนิดมีความหนาแน่นต่ำ ได้แก่ โลหะเบา เช่นธาตุหมู่ I A และ II A
9.มีค่า EN ต่ำ จึงเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายเกิดเป็นไอออนบวก เช่น
10.ทำปฏิกิริยากับกรดเกิดก๊าช ไฮโดรเจน ยกเว้นโลหะมีตระกูล
สมบัติของอโลหะ
1.มีทั้ง 3 สถานะ คือของแข็งเช่น คาร์บอน กำมะถันของเหลว เช่น โบรมีนก๊าช เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน
2.มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ ยกเว้นแกรไฟต์
3.เปราะ แตกง่าย ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นไม่ได้
4.ไม่นำไฟฟ้าและความร้อน ยกเว้นแกรไฟต์
5.มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างจุดเดือด และจุดหลอมเหลวแคบ
6.เคาะไม่มีเสียงกังวาน
7.ผิวไม่มันวาว
8.มีความหนาแน่นต่ำ
9. มีค่า EN สูง จึงรับอิเล็กตรอนได้ง่ายเกิดเป็นไอออนลบ
ธาตุกึ่งโลหะ
โบรอน (B) ซิลิคอน (Si) เจอร์เมเนียม (Ge) สารหนู (As หรือ อาร์เซนิก) พลวง (Sb หรือ แอนติโมนี)
ซิลีเนียม (Se) และเทลูเรียม (Te) จัดเป็นธาตุกึ่งโลหะเพราะมีสมบัติบางประการเหมือนอโลหะ ซิลิคอนและเจอร์เมเนียมใช้ทำส่วนประกอบของอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นธาตุกึ่งตัวนำ ซึ่งหมายความว่า มันจะสามารถนำไฟฟ้าได้เฉพาะในภาวะหนึ่งเท่านั้น ธาตุกึ่งโลหะเหล่านี้จะอยู่บริเวณเส้นขั้นบันได (ซึ่งทางซ้ายของเส้นขั้นบันไดจะเป็นโลหะ ส่วนทางขวาของเส้นบันไดจะเป็นอโลหะ)

สัญลักษณ์ของธาตุ

ตาราง แสดงชื่อธาตุและสัญลักษณ์ธาตุ

ตารางธาตุในปัจจุบัน
เนื่องจากปัจจุบันนักเคมีพบว่า การจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุมีส่วนสัมพันธ์กับสมบัติต่าง ๆ ของธาตุ กล่าวคือ ถ้าเรียงลำดับธาตุตามเลขอะตอมจากน้อยไปหามาก จะพบว่าธาตุที่มีสมบัติคล้ายคลึงกันเป็นช่วง ๆ ตามลักษณะของการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุนั้น ดังนั้นในปัจจุบันจึงจัดตารางธาตุโดยเรียงตามเลขอะตอมจากน้อยไปมาก ดังในรูป รูปตารางธาตุในปัจจุบัน
ตารางธาตุในรูปเป็นแบบที่ใช้กันอยู่มากในปัจจุบัน แบ่งธาตุในแนวตั้งออกเป็น 18 แถวหรือ 18 หมู่ โดยธาตุทั้งหมด 18 แถว แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่ม A และ B กลุ่ม A มี 8 หมู่ คือหมู่ IA ถึง VIIIA ส่วนกลุ่ม B ซึ่งอยู่ระหว่างหมู่ IIA และ IIIA มี 8 หมู่เช่นเดียวกัน คือ หมู่ IB ถึง VIIIB (แต่มี 10 แนวตั้ง) เรียกธาตุกลุ่ม B ว่า ธาตุทรานซิชัน
ธาตุในแต่ละหมู่ ของกลุ่ม A ถ้ามีสมบัติคล้ายกันจะมีชื่อเรียกเฉพาะหมู่ เช่น
ธาตุหมู่ IA เรียกว่า โลหะอัลคาไล (alkali metal) ได้แก่ Li , Na , K , Rb , Cs , Fr
ธาตุหมู่ IIA เรียกว่า โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท (alkaline earth) ได้แก่ Be Mg Ca Sr Ba Ra
ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุเฮโลเจน (halogen) ได้แก่ F Cl Br I At
ธาตุหมู่ที่ VIIIA เรียกว่า ก๊าซเฉื่อย (Inert gas) ได้แก่ He Ne Ar Kr Xe Rn
สำหรับการแบ่งธาตุเป็นคาบ ธาตุทั้งหมดในตารางธาตุแบ่งเป็น 7 คาบ ซึ่งในแต่ละคาบอาจจะมีจำนวนธาตุไม่เท่ากัน เช่น
สำหรับคาบต่าง ๆ ในตารางธาตุแบ่งเป็น 7 คาบดังนี้
คาบที่ 1 มี 2 ธาตุ คือ H , He
คาบที่ 2 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Li ถึง Ne
คาบที่ 3 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Na ถึง Ar
คาบที่ 4 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ K ถึง Kr
คาบที่ 5 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Rb ถึง Xe
คาบที่ 6 มี 32 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Cs ถึง Rn
คาบที่ 7 มี 19 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Fr ถึง Ha
รวมทั้งหมด 105 ธาตุ เป็นก๊าซ 11 ธาตุ คือ H , N , O , F , Cl , He , Ne , Ar , Kr , Xe และ Rn เป็นของเหลว 5 ธาตุ คือ Cs , Fr , Hg , Ga และ Br ที่เหลือเป็นของแข็ง
สำหรับ 2 แถวล่างเลขอะตอม 58 - 71 และ 90 - 103 เป็นธาตุกลุ่มย่อยที่แยกมาจากหมู่ IIIB ในคาบที่ 6 และ 7 เรียกธาตุในกลุ่มย่อยนี้รวม ๆ ว่า กลุ่มธาตุเลนทาไนด์ และกลุ่มธาตุแอกทิไนด์
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาธาตุหมู่ IIIA ไปทางขวามือ จะพบเส้นหนักหรือเส้นทึบเป็นแบบขั้นบันได เส้นหนักนี้จะเป็นเส้นแบ่งกลุ่มธาตุโลหะและอโลหะ กล่าวคือ ธาตุทางขวาของเส้นขั้นบันไดจะเป็นอโลหะ ธาตุทางซ้ายมือของเส้นขั้นบันไดจะเป็นโลหะ ธาตุที่อยู่ชิดกับเส้นขั้นบันได เป็นธาตุกึ่งโลหะ ซึ่งมีทั้งสมบัติของโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุ B , Si , Ge , As , Sb , Te
การจัดเรียงอิเล็กตรอนกับหมู่และคาบของธาตุ
จากการพิจารณาการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ พบว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการจัดหมู่และคาบของตารางธาตุในปัจจุบัน
สำหรับธาตุกลุ่ม A ธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุในแต่ละหมู่จะตรงกับเลขประจำหมู่
จำนวนระดับพลังงานที่มีอิเล็กตรอนอยู่ จะเท่ากับเลขที่คาบ นั่นคือธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันจะมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน
เช่น 11Na = 2 , 8 , 1
12Mg = 2 , 8 , 2
19K = 2 , 8 , 8 , 1
ทั้ง Na และ K ต่างก็มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน แสดงว่าเป็นธาตุในหมู่เดียวกัน เนื่องจากมี 1 เวเลนซ์อิเล็กตรอน จึงจัดเป็นธาตุหมู่ที่ 1 เหมือนกัน
Na มี 3 ระดับพลังงาน จึงจัดอยู่ในคาบที่ 3 ของตารางธาตุ
K มี 4 ระดับพลังงานจึงจัดอยู่ในคาบที่ 4 ของตารางธาตุ
Mg มี 3 ระดับพลังงานจึงจัดอยู่ในคาบที่ 3 ของตารางธาตุ
ดังนั้น Na และ Mg จัดเป็นธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันคือคาบที่ 3 แต่ต่างหมู่กันเพราะมีเวเลนต์อิเล็กตรอนต่างกัน คือ หมู่ 1A และ 2A ตามลำดับ
การตั้งชื่อธาตุที่ค้นพบใหม่
จากตารางธาตุในรูปที่ 5.13 จะพบว่ามีธาตุอยู่ 106 ธาตุ ซึ่งยังมีการค้นพบธาตุใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายธาตุ แต่ยังไม่ได้กำหนดสัญลักษณ์ที่แน่นอนไว้ในตารางธาตุ ธาตุบางธาตุถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์หลายคณะ ทำให้มีชื่อเรียกและสัญลักษณ์ต่างกัน
เช่น ธาตุที่ 104 ค้นพบโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ 2 คณะ คือ คณะของนักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกชื่อว่า รัทเทอร์ฟอร์เดียม (Ratherfordium) และใช้สัญลักษณ์ Rf ในขณะที่คณะนักวิทยาศาสตร์สหภาพโซเวียตเรียกชื่อว่าเคอร์ซาโตเวียม (Kurchatovium) และใช้สัญลักษณ์ Ku
ธาตุที่ 105 ค้นพบโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ 2 คณะเช่นเดียวกัน คือคณะนักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาเรียกชื่อว่า ฮาห์เนียม (Hahnium) และใช้สัญลักษณ์ Ha ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์สหภาพโซเวียตใช้ชื่อว่า นิลส์บอห์เรียม (Neilbohrium) และใช้สัญลักษณ์เป็น Ns
การที่คณะนักวิทยาศาสตร์ต่างคณะตั้งชื่อแตกต่างกัน ทำให้เกิดความสับสน International Union of Pure and Applied Chemistry (IUPAC) จึงได้กำหนดระบบการตั้งชื่อขึ้นใหม่ โดยใช้กับชื่อธาตุที่มีเลขอะตอมเกิน 100 ขึ้นไป ทั้งนี้ให้ตั้งชื่อธาตุโดยระบุเลขอะตอมเป็นภาษาละติน แล้วลงท้ายด้วย ium
ระบบการนับเลขในภาษาละตินเป็นดังนี้
0 = nil (นิล) 1 = un (อุน)
2 = bi (ไบ) 3 = tri (ไตร)
4 = quad (ควอด) 5 = pent (เพนท์)
6 = hex (เฮกซ์) 7 = sept (เซปท์)
8 = oct (ออกตฺ) 9 = enn (เอนน์)
เช่น
ธาตุที่ 104 ตามระบบ IUPAC อ่านว่า อุนนิลควอเดียม (Unnilquadium) สัญลักษณ์ Unq
ธาตุที่ 105 ตามระบบ IUPAC อ่านว่า อุนนิลเพนเทียม (Unnilpentium) สัญลักษณ์ Unp
การจัดตารางธาตุเป็นหมู่เป็นคาบ ทำให้ศึกษาสมบัติต่าง ๆ ของธาตุได้ง่ายขึ้น สามารถทำนายสมบัติบางประการของธาตุบางธาตุได้ กล่าวคือธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันจะมีสมบัติต่าง ๆ คล้าย ๆ กัน และธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกัน จะมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสมบัติต่าง ๆ ต่อเนื่องกันไป ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไป

สัญลักษณ์นิวเคลียร์

ธาตุกัมมันตรังสี

ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึง ธาตุที่แผ่รังสีได้ เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 82
กัมมันตภาพรังสี หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง รังสีที่ได้จากการสลายตัว มี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
ในนิวเคลียสของธาตุประกอบด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น
(ธาตุยูเรเนียม) (ธาตุทอเลียม) (อนุภาคแอลฟา)
- จะเห็นได้ว่า การแผ่รังสีจะทำให้เกิดธาตุใหม่ได้ หรืออาจเป็นธาตุเดิมแต่จำนวนโปรตอนหรือนิวตรอนอาจไม่เท่ากับธาตุเดิม และธาตุกัมมันตรังสีแต่ละธาตุ มีระยะเวลาในการสลายตัวแตกต่างกันและแผ่รังสีได้แตกต่างกัน เรียกว่า ครึ่งชีวิตของธาตุ
- ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทปและสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้
ที่มา : http://thapring.com/Pingpong_web/M&CM2_Web/Content_10.html

สารประกอบ

สารประกอบ (Compound) คือ สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไปทางเคมีโดยใช้อัตราส่วนคงที่ และสารบริสุทธิ์ที่ได้ไม่แสดงสมบัติเดิม เช่น น้ำ (H2O) เกลือแกง (NaCl) กรดซันฟิวริก (H 2SO4 ) โซดาไฟ (NaOH) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ที่มา :http://school.obec.go.th/sawatee/elearning/WebApplications2/element.aspx

สูตรเคมี

สมบัติของสารประกอบ

ประโยชน์ของธาตุและสารประกอบ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

เขาเขียวเกมส์

โรงเรียนภูเขียวจัดกีฬาภายใน "เขาเขียวเกมส์" ครั้งที่ 59 ประจำปีการศึกษา 2552 ระหว่างวันที่ 18 - 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สาวสวยในม่านไผ่

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พฤติกรรมสัตว์

พฤติกรรมสัตว์
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีแบบแผนของการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพ แวดล้อ
มต่างๆกัน การตอบสนองอาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเป็นไปอย่างช้าๆ แต่มีผลทำให้สิ่งมีชีวิตมีการแสดงออกหรือมีพฤติกรรมในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต






ตั๊กแตนกิ่งไม้ ปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม






กบ / เขียดเป็นสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่ปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด







จักจั่น
แปลกายให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ได้อย่างแนบเนียนทั้งสีและลวดลายบนปีกของมันจะเหมือนกับเปลือกไม้มากจนแทบสังเกตไม่เห็น


1. ความหมายของพฤติกรรม

พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้ง สิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอก
สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วๆไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1) สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
2) สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น
2. กลไกการเกิดพฤติกรรม
การที่สัตว์จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. เหตุจูงไจ (Motivation)
2. ตัวกระตุ้นปลดปล่อย (Releasing Stimulus)
เช่น พฤติกรรมการกินอาหารของสัตว์ ความหิว เป็นเหตุจูงใจ อาหาร เป็นตัวกระตุ้นปลดปล่อย
โดยทั่วไปถ้าเหตุจูงใจสูง สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้ ถึงแม้ตัวกระตุ้นปลดปล่อยจะไม่รุนแรง ในทางตรงกันข้ามถ้าเหตุจูงใจต่ำ แต่ตัวกระตุ้นปลดปล่อยมีความรุนแรงมาก สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้เช่นกัน
3. พฤติกรรมของคนและสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ไวต่อการรับความรู้สึกและโต้ตอบสิ่งต่างๆที่เกิด ขึ้นรอบๆตัว เช่น แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส ซึ่งเรียกว่า สิ่งเร้า ส่วนพฤติกรรม หรืออาการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตแสดงออกหรือปรากฏให้เห็น เมื่อถูกสิ่งเร้ามากระตุ้น ณ ชั่วขณะหนึ่ง เรียกว่า การตอบสนองคนและสัตว์สามารถแสดงพฤติกรรมบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งได้แก่ แสง อุณหภูมิ น้ำ และการสัมผัส ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของสิ่งเร้าและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยน แปลงไป เพื่อความปลอดภัยและการอยู่รอดของชีวิต โดยอาศัยการทำงานที่ประสานกันระหว่างระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ รวมทั้งต่อมไร้ท่อและระบบต่อมมีท่อดังนี้
3.1 การตอบสนองเมื่อได้รับแสงเป็นสิ่งเร้า คนและสัตว์บางชนิดสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับแสง เช่น
- การหรี่ตาเมื่อได้รับแสงสว่างมากเกินไป
- การที่แมลงต่างๆ บินเข้าหาแสงสว่าง
- เมื่อเกิดสุริยุปราคา นกจะบินกลับรัง เนื่องจากมีสภาพคล้ายเวลาพลบค่ำ
- การหนีแสงของไส้เดือนดิน
- การให้แสงสว่างในการเลี้ยงไก่ เพื่อให้ไก่กินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้เจริญเติบโตเร็วในระยะเวลาสั้นกว่าปกติ
- สัตว์บางชนิดออกหาอาหารในเวลาที่เริ่มมีแสงสว่าง เช่น การที่นกบินออกจากรังในตอนเช้า
- ไก่ขันบอกเวลาในตอนเช้า
แต่ก็มีสัตว์บางชนิดจะออกหาอาหารในเวลาที่ไม่มีแสงสว่าง เช่น นกเค้าแมว ค้างคาว หนู
3.2 การตอบสนองเมื่อได้รับอุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า คนและสัตว์จะดำรงชีวิตในสภาวะที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตจะมีพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพื่อความ ปลอดภัย และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
เมื่ออากาศร้อน หรือมีอุณหภูมิสูง
เมื่ออากาศเย็นหรืออุณหภูมิต่ำ
- คนจะเหงื่อออกมาก เป็นการระบายความร้อน
- คนเมื่อสัมผัสวัตถุที่ร้อนจัด จะเกิดอาการสะดุ้ง และดึงอวัยวะส่วนที่สัมผัสออกทันที
- สุนัข วัว ควาย แกะ จะระบายความร้อนโดยน้ำระเหยออกจากลิ้นและเพดานปากด้วยการหอบ
- แมว กระต่าย จิงโจ้ จะระบายความร้อนโดยการเลียอุ้งเท้า และน้ำลายจะพาความร้อนออกไป
- ควายจะหนีร้อนด้วยการแช่ในแอ่งน้ำ
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลน กิ้งก่า งู จะหลบร้อนอยู่ตามโพรงไม้ หรือ ในที่ร่ม
- คนจะขนลุก หนาวสั่น เป็นการป้องกันการสูญเสียความร้อน และเพิ่มความร้อนให้แก่ร่างกาย
- คนเมื่อสัมผัสวัตถุที่เย็นจัด จะเกิดอาการสะดุ้ง และดึงอวัยวะส่วนที่สัมผัสออกทันที
- นกนางแอ่นบ้าน และ นกปากห่าง จะอพยพย้ายถิ่นจากไซบีเรียมายังประเทศไทย
- กระรอกดินจะหนีอากาศหนาวด้วยการจำศีล (Hibernation)
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลน กิ้งก่า งู จะนอนผึ่งแดด
3.3 การตอบสนองเมื่อได้รับน้ำเป็นสิ่งเร้า น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรังชีวิตของคนและสัตว์ ช่วยลำเลียงสารอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ช่วยรักษาผิวหนังให้ชุ่มชื้น ดังนั้นเมื่อสภาพแวดล้อมมีปริมาณน้ำไม่เหมาะสม คนและสัตว์บางชนิดจะปรับตัวให้เหมาะสม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ไส้เดือนจะเคลื่อนที่เข้าหาความชื้น เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น เนื่องจากไส้เดือนหายใจโดยใช้ผิวหนังจึงจำเป็นที่ผิวหนังจะต้องชุ่มชื้นตลอด เวลา
- น้ำทำให้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก ออกหากินในเวลากลางคืน เพื่อให้มีความชื้นพอเหมาะ
- สัตว์ทะเลทรายจะออกหากินในเวลากลางคืนเพื่อลดการสูญเสียน้ำ
สำหรับคนการตอบสนองกับสิ่งเร้าที่เป็นน้ำจะสังเกตไม่ได้ชัดเจน เพราะคนเราสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับน้ำ
3.4 การตอบสนองสิ่งเร้าเมื่อได้รับการสัมผัสเป็นสิ่งเร้า ผิวหนังของคนและสัตว์จะมีประสาทสัมผัสอยู่ที่บริเวณผิวหนัง ดังนั้นเมื่อได้รับการสัมผัส ระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อจะทำงานประสานกัน และแสดงอาการตอบสนองสิ่งเร้าได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- อึ่งอ่างเมื่อได้รับการสัมผัสจะพองตัว
- กิ้งกือจะขดตัวเมื่อถูกสัมผัส
- เมื่อผงเข้าตา นัยน์ตาจะขับน้ำตาออกมาเพื่อกำจัดผง
- การกะพริบตาเมื่อรู้สึกว่ามีวัตถุเข้าใกล้นัยน์ตา เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่นัยน์ต

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พันธุวิศวกรรม (GMOs )

พันธุวิศวกรรมคืออะไร
พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) หมายถึง เทคโนโลยีที่ทำการเคลื่อนย้ายยีน (gene) จากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกสายพันธุ์หนึ่ง เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ (novel) เทคนิคเหล่านี้เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สลับซับซ้อน ในการเปลี่ยนแปลงหน่วยพันธุกรรม หรือ DNA ของสิ่งมีชีวิต โดยอาศัยเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม นักวิทยาศาสตร์สามารถเคลื่อนย้ายยีนที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นอาจมียีนลูกผสมแบบใหม่ ทำให้เกิดคุณลักษณะแบบใหม่ ซึ่งไม่เคยปรากฏในธรรมชาติมาก่อน
ประโยชน์ของพันธุวิศวกรรม
พันธุวิศวกรรมเป็นกระบวนการปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ (species) หนึ่งโดยนำยีนจากอีกชนิดพันธุ์หนึ่งถ่ายฝากเข้าไป เพื่อจุดประสงค์ที่จะให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น กระบวนการดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า LMO (living modified organism) หรือ GMOs (genetically modified organism) ตัวอย่างการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการใช้ประโยชน์เชิงการค้ามีมากมาย ซึ่งจะกล่าวถึงเพียงบางอย่างเท่านั้น
รูปภาพล้อเลียนการทำ GMOs

การโคลนนิ่ง

การโคลนนิ่ง (Cloning) หมายถึง การผลิตเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ ซึ่งการโคลนนิ่งได้ทำกับพืชมานานหลายสิบปี ที่เรียกว่า “การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ” ในปี พ.ศ.2539 ได้มีการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสำเร็จครั้งแรกโดยทำกับแพะ และแกะ แกะตัวแรกที่ได้จากการโคลนนิ่งมีชื่อว่า “ดอลลี”
ภาพแสดงขั้นตอนการทำโคลลนิ่งแกะดอลลี โดย ดร.เอียน วิลมัต (Dr. Lan Wilmut) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อต ได้โคลนนิ่งดอลลีสำเร็จด้วยวิธีการตามขั้นตอน ดังนี้

การถ่ายฝากตัวอ่อน

การถ่ายฝากตัวอ่อน
การถ่ายฝากตัวอ่อนจะช่วยทำให้ได้ตัวอ่อนจำนวนมากขึ้น ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้ง ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนสำคัญดังนี้
1. เลือกแม่พันธุ์ที่ดี แล้วกระตุ้นให้สร้างไข่และตกไข่ครั้งละหลายๆ ฟองด้วยการฉีดฮอร์โมน
2. เตรียมตัวเมียที่จะรับฝากตัวอ่อนโดยใช้ฮอร์โมนฉีดกระตุ้นให้มีความพร้อมที่จะตั้งท้อง
3. ทำการผสมเทียมโดยฉีดน้ำเชื้อของตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์เข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ในช่วงไข่ตกในข้อ 1 หรือปล่อยให้ตัวผู้หรือพ่อพันธุ์ ผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติ ทำให้ไข่หลายฟองได้รับการปฏิสนธิแล้วเจริญกลายเป็นเป็นตัวอ่อนอยู่ในมดลูกหลายตัวพร้อมกัน
4. ใช้เครื่องมือดูดเอาตัวอ่อน ออกจากมดลูกของแม่พันธุ์มาตรวจสอบและคัดเลือกเอาเฉพาะตัวอ่อนที่สมบูรณ์ดี เท่านั้น โดยต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝาก
5. นำตัวอ่อนที่ผ่านการตรวจสอบ และคัดเลือก แล้วนำไปใส่ฝากไว้ในมดลูกของตัวเมียที่เป็นตัวรับฝากตัวอ่อนที่ได้เตรียมไว้ โดยต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝากข้อดีของการถ่ายฝากตัวอ่อน
หลังจากการถ่ายฝากตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ในมดลูกจนสมบูรณ์ดี จึงคลอดออกมาพร้อม ๆ กัน การถ่ายฝากตัวอ่อน มีข้อดี ดังนี้
1. ทำให้ได้ลูกจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์คู่เดียวจำนวนมากในการผสมพันธุ์กันเพียงครั้งเดียว
2. ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตสัตว์ได้เป็นอย่างดี
3. สามารถเก็บรักษาตัวอ่อนไว้ได้นานโดยการแช่แข็งซึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ถ่ายฝากให้กับตัวเมียอื่น ๆ ได้ทุกเวลาตามที่ต้องการ
4. ทำให้ได้สัตว์ที่มีลักษณะดีตามความต้องการในปริมาณมาก

การผสมเทียม

การผสมเทียม
อาศัย หลักการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้และตัวเมีย โดยไม่รอการผสมตามธรรมชาติ หากแต่ใช้วิธีรีดน้ำเชื้อจากตัวผู้ แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมียในช่วงเวลาที่ เป็นสัด คือระยะที่ไข่สุก ตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ สัตว์ตัวเมียก็จะตั้งท้อง
1. การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย
สัตว์ที่มีการปฏิสนธิในร่างกายของสัตว์ ที่นิยมการผสมเทียม ได้แก่ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
1) การรีดน้ำเชื้อ เป็นการรีดน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์พ่อพันธุ์ที่ดี มีความแข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุพอเหมาะ โดยใช้เครื่องมือสำหรับรีดน้ำเชื้อโดยเฉพาะ
2) การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อที่รีดได้ว่ามีปริมาณของตัวอสุจิมากพอ แก่การผสมเทียม และมีความแข็งแรงเพียงพอแก่การนำมาใช้หรือไม่
3) การละลายน้ำเชื้อ เป็น การเติมน้ำยาเลี้ยงเชื้อลงในน้ำเชื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อให้เพียงพอ ในการแบ่งฉีดให้กับตัวเมียหลาย ๆ ตัว น้ำยาเลียงเชื้อที่เติม เช่น
- ไข่แดง (เพื่อเป็นอาหารของตัวอสุจิ)

- โซเดียมซิเตรต (เพื่อรักาาความเป็นกรด-เบส)
- ยาปฏิชีวนะ
(เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำเชื้อ)
4) การเก็บรักษาน้ำเชื้อ เป็นการเก็บรักษาน้ำเชื้อก่อนที่จะนำไปใช้ โดยจะมีการเติมอาหารลงในน้ำเชื้อเพื่อให้ตัวอสุจิได้ใช้เป็นอาหารตลอดช่วง ที่เก็บรักษาและเป็นการช่วยให้ปริมาณน้ำเชื้อมีมากขึ้น จะได้นำไปฉีดให้ตัวเมียได้หลาย ๆ ตัว หลังจากนั้นจะนำน้ำเชื้อที่เติมอาหารแล้วไปเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คื
  • การเก็บน้ำเชื้อสด เป็นการเก็บน้ำเชื้อในสภาพของเหลวในที่อุณหภูมิ 4 - 5 องศาเซลเซียส จะช่วยให้น้ำน้ำเชื้อมีอายุอยู่ได้ประมาณหนึ่งเดือน แต่หากเก็บรักษาไว้ที่ อุณหภูมิ 15- 20 องศาเซียส จะเก็บรักษาได้ประมาณ 4 - 5 วัน เท่านั้น
  • ารเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง เป็นการเก็บน้ำเชื้อโดยแช่ไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ ต่ำ - 196 องศาเซียส จะทำให้น้ำเชื้ออยู่ในสภาพของแข็ง วิธีการเก็บแบบนี้จะช่วยให้สามารถเก็บไว้นานเป็นปี

5) การฉีดเชื้อให้แม่พันธุ์ เมื่อจะผสมเทียมจะนำเชื้อสด หรือน้ำเชื้อแช่แข็งออกมาปรับสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ แล้วใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเชื้อที่เตรียมไว้ฉีดเข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ และตั้งท้อง

2. การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย นิยมทำกับสัตว์น้ำพวกปลา กุ้ง และหอย สำหรับการผสมเทียมปลานั้น ก่อนที่จะรีดน้ำเชื้อและไข่จากปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มาผสมกัน จะต้องมีการเตรียมพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้พร้อมที่จะผสมพันธุ์เสียก่อน โดยการฉีด " ฮอร์โมน " เพื่อกระตุ้นให้พ่อพันธุ์ผลิตน้ำเชื้อที่สมบูรณ์ และกระตุ้นให้ไข่ของแม่พันธุ์สุกเต็มที่ ซึ่งฮอร์โมนที่ใช้เป็นฮอร์โมนที่ได้จากต่อมใต้สมองของปลา หรืออาจจะใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ก็ได้ การผสมเทียมปลานั้นมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

การผสมเทียมปลา มีวิธีการดังนี้
1) คัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาที่สมบูรณ์ มีน้ำเชื้อดีและมีไข่มากจากปลาที่กำลังอยู่ในวัยผสมพันธุ์ได้
2) ฉีดฮอร์โมนให้แม่ปลา เพื่อเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกเร็วขึ้น ฮอร์โมนที่ฉีดนี้ได้จาการนำต่อมใต้สมองของปลาพันธุ์เดียวกันซึ่งเป็นเพศใดก็ ได้ นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมน้ำกลั่นฉีดเข้าที่บริเวณเส้นข้างลำตัวของแม่ปลา
3) หลังจากฉีดฮอร์โมนให้แม่ปลาแล้วประมาณ 5-12 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดและน้ำหนักของแม่ปลา ต่อจากนั้นจึงรีดไข่และน้ำเชื้อจากแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ที่เลือกไว้ใส่ ภาชนะใบเดียวกัน

4) ใช้ขนไก่คนไข่กับน้ำเชื้อเบา ๆ เพื่อคลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วใส่น้ำให้ท่วม ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที จึงถ่ายทิ้งประมาณ 1-2 ครั้ง
5) นำไข่ที่ผสมแล้วไปพักในที่ที่เตรียมไว้ ซึ่งต้องเป็นที่ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา เพื่อให้ไข่ลอยและป้องกันการทับถมของไข่ ทิ้งไว้จนกระทั่งไข่ปลาฟักออกเป็นลูกปลาในเวลาต่อมา

รีดไข่ของปลาแม่พันธุ์ใส่ภาชนะ

รีดน้ำเชื้อของปลาพ่อพันธุ์ลงผสม

ใช้ขนไก่คนไข่กับน้ำเชื้อเบาๆ เพื่อคลุกเคล้าให้ทั่ว

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ด้านเกษตร

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพในด้านต่าง ๆ
ด้านเกษตรกรรม
ในปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์สัตว์โดยการนำสัตว์พันธุ์ดีจากต่างประเทศ ซึ่งอ่อนแอ ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศของไทยมาผสมพันธุ์กับพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะดีเหมือนกับพันธุ์ต่างประเทศที่แข็งแรง ทนทานต่อโรคและทนต่อสภาพภูมิอากาศของเมืองไทย และที่สำคัญคือราคาต่ำ เกษตรกรที่มีทุนไม่มากนัก สามารถซื้อไปเลี้ยงได้ ตัวอย่างเช่น การผลิตโค 3 สายเลือด โดยนำโคพันธุ์พื้นเมืองมาผสมพันธุ์กับโคพันธุ์บราห์มันได้ลูกผสม แล้วนำลูกผสมที่ได้นี้ไปผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์โคนมหรือโคเนื้ออีกครั้งหนึ่ง จะได้ลูกผสม 3 สายเลือดที่มีลักษณะดีเหมือนพันธุ์ต่างประเทศ แต่ทนทานต่อโรคและทนร้อนได้ดี และมีราคาต่ำ

ด้านอุตสาหกรรม

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพในด้านต่าง ๆ
ด้านอุตสาหกรรม
1. การถ่ายฝากตัวอ่อน ทำให้เพิ่มปริมาณและคุณภาพของโคนมและโคเนื้อ เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัวและน้ำนมวัว
2. การผสมเทียมสัตว์บกและสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพสัตว์บกและสัตว์น้ำ ทำให้เกดการพัฒนาอุตสาหกรรมการแช่เย็นเนื้อสัตว์และการผลิตอาหารกระป๋อง
3. พันธุวิศวกรรม โดยนำผลิตผลของยีนมาใช้ประโยชน์และผลิตเป็นอุตสาหกรรม เช่น ผลิตยา ผลิตวัคซีน น้ำยาสำหรับตรวจวินิจฉัยโรค ยาต่อต้านเนื้องอก ฮอร์โมนอินซูลินรักษาโรคเบาหวาน ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของคน เป็นต้น
4. ผลิตฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ ได้มีการทดลองทำในหมู โดยการนำยีนสร้างฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของวัวและของคนมาฉีดเข้าไปในรัง ไข่ที่เพิ่งผสม พบว่าหมูจะมีการเจริญเติบโตดีกว่าหมูปรกติ
5. ผลิตสัตว์แปลงพันธุ์ให้มีลักษณะโตเร็วเพิ่มผลผลิต หรือมีภูมิต้านทาน เช่น แกะที่ให้น้ำนมเพิ่มขึ้น ไก่ที่ต้านทานไวรัส

ด้านอาหาร

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพในด้านต่าง ๆ
ด้านอาหาร
1. เพิ่มปริมาณเนื้อสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์บก ได้แก่ กระบือ สุกร ส่วนสัตว์น้ำมีทั้งสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็มจำพวกปลา กุ้ง หอยต่าง ๆ ซึ่งเนื้อสัตว์เป็นแหล่งสารโปรตีนที่สำคัญมาก
2. เพิ่มผลผลิตจากสัตว์ เช่น น้ำนมวัว ไขเป็ด ไข่ไก่ เป็นต้น
3. เพิ่มผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตของสัตว์ เช่น เนย นมผง นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต เป็นต้น ทำให้เรามีอาหารหลากหลายที่ให้ประโยชน์มากมาย

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ด้านการแพทย์

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพในด้านต่าง ๆ
ด้านการแพทย์ช้พันธุวิศวกรรม มีดังต่อไปนี้
1.1 การใช้ยีนบำบัดโรค เช่น การรักษาโรคไขกระดูกที่สร้างโกลบินผิดปรกติ การดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อง่าย การรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง เป็นต้น
1.2 การตรวจวินิจฉัยหรือตรวจพาหะจากยีน เพื่อตรวจสอบโรคธาลัสซีมีย โรคโลหิตจาง สภาวะปัญญาอ่อน ยีนที่อาจทำให้เกิดประโรคมะเร็ง เป็นต้น
1.3 การใช้ประโยชน์จากการตรวจลายพิมพ์จากยีนของสิ่งมีชีวิต เช่น การสืบหาตัวผู้ต้องสงสัยในคดีต่าง ๆ การตรวจสอบความเป็นพ่อ-แม่-ลูกกัน การตรวจสอบพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจต่าง ๆ


การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพในด้านต่างๆ

เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การนำสิ่งมีชีวิตหรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาปรับปรุง เพื่อให้เกิดการพัฒนา การเพิ่มผลผลิตของสิ่งมีชีวิต และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรการปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ และการเพิ่มผลผลิตของสัตว์ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลาย เช่น การผสมเทียม การถ่ายฝากตัวอ่อน พันธุวิศวกรรม การโคลนนิ่ง เป็นต้น

ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยเพิ่มผลผลิตของสัตว์ในการเร่งความเจริญเติบโต การเพิ่มปริมาณ และการป้องกันรักษาโรคในสัตว์ ดังนี้
1. การใช้วัคซีนเร่งความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของกระบือ เมื่อใช้ฮอร์โมนเร่งอัตราการเจริญเติบโตช่วยให้กระบือเพศเมียตกลูกตั้งแต่อายุยังน้อยและตกลูกได้มาก การเร่งการเจริญเติบโตของโคเพศผู้ช่วยเพิ่มผลผลิตของเนื้อโค
2.การใช้ฮอร์โมน เมื่อต้องการกระตุ้นวัวพื้นเมืองเพศเมียให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้น้ำนมจากแม่วัวเร็วกว่าการเจริญเติบโตตามปกติ

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พิธีถวายราชสักการะ "12 สิงหามหาราชินี"

ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ โรงเรียนภูเขียวจัดกิจกรรมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ ๗๗ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๒ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์

วันภาษาไทยแห่งชาติ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนภูเขียวจัดกิจกรรม"วันภาษาไทยแห่งชาติ" ในวันที่ 11 สิงหาคม 2552 ข้าพเจ้าเข้าร่วมชมการแสดงของนักเรียน และการประกวดแต่งกายเลียนแบบตัวละคร ซึ่งนักเรียนแต่ละห้องได้ให้ความร่วมมือส่งตัวแทนเข้าประกวดอย่างเต็มที่ ทำให้ในวันงานมีสีสันและสนุกสนานมากเลย

"Cp - โคเปอร์นิเซียม"

เด็กๆ เตรียมท่อง "Cp - โคเปอร์นิเซียม" ชื่อธาตุใหม่ตั้งยกย่อง "โคเปอร์นิคัส"
ตารางธาตุ (ภาพจาก http://www.webelements.com/)
ทีมนักวิทยาศาสตร์เยอรมัน ผู้พบธาตุลำดับที่ 112 ในตารางธาตุ เสนอให้ตั้งชื่อธาตุใหม่ล่าสุดว่า "โคเปอร์นิเซียม" เพื่อยกย่อง "โคเปอร์นิคัส" นักดาราศาสตร์โปแลนด์ ผู้เปลี่ยนแปลงความเชื่อของมนุษยชาติไปตลอดกาล ด้วยการค้นพบว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน สหพันธ์เคมีบริสุทธิ์และประยุกต์สากล (International Union of Pure and Applied Chemistry) หรือไอยูแพค (IUPAC) ยืนยันการค้นพบธาตุชนิดใหม่ ของศูนย์วิจัยไออนหนักจีเอสไอ (GSI Helmholtzzentrum für Schwerionenforschung) ในเมืองดาร์มสตัดท์ เยอรมนี ที่ค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 และจัดเป็นธาตุลำดับที่ 112 ในตารางธาตุ ซึ่งจะใช้เวลาอีกราว 6 เดือน จึงจะประกาศชื่อธาตุใหม่อย่างเป็นทางการล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบธาตุที่หนักสุดในตารางธาตุขณะนี้ เสนอให้ตั้งชื่อธาตุใหม่นี้ว่า "โคเปอร์นิเซียม" (Copernicium) และใช้ตัวย่อว่า "ซีพี" (Cp) เพื่อเป็นเกียรติแก่ "นิโคลัส โคเปอร์นิคัส" (Nicolus Copernicus) นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ ที่มีชีวิตอยู่เมื่อเกือบ 500 ปีก่อน (ระหว่างพ.ศ. 2016-2086) และเป็นผู้ที่ค้นพบว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์"หลังจากที่ไอยูแพค ยืนยันการค้นพบธาตุใหม่ของพวกเขาแล้ว ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนร่วมในการวิจัยนี้ ก็ได้ประชุมหารือกัน และมีความเห็นตรงกันว่าจะเสนอให้ใช้ชื่อ "โคเปอร์นิเซียม" เป็นชื่อของธาตุลำดับที่ 112 ในตารางธาตุ เพื่อสรรเสริญนักวิทยาศาสตร์ ผู้ที่เปลี่ยนมุมมองของเราต่อโลกไปตลอดกาล" ศ.ซีเกิร์ด ฮอฟมันน์ (Professor Sigurd Hofmann) หัวหน้าทีมในการค้นพบธาตุตัวนี้ กล่าวผ่านไซน์เดลี
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
เครื่องเร่งอนุภาคความยาว 120 เมตรที่ศูนย์จีเอสไอ (ภาพจาก ไซน์เดลี/G. Otto, GSI)ทั้งนี้ โคเปอร์นิคัส เป็นนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ และเป็นผู้ค้นพบว่า โลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ต่างโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งการค้นพบนี้หักล้างกับความเชื่อเดิมของคนในสมัยนั้น ที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และยังส่งผลต่อแนวคิดของผู้คนในสังคมทางด้านปรัชญาและศาสนาอย่างมากด้วยอีกทั้งการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ ยังเป็นโมเดลของระบบอื่นๆ ในธรรมชาติด้วย เพราะโครงสร้างของอะตอม เปรียบได้กับจักรวาลขนาดเล็ก ที่มีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียสของอะตอมสำหรับธาตุใหม่ที่จะได้ชื่อว่าโคเปอร์นิเซียมนี้หนักกว่าไฮโดรเจนประมาณ 277 เท่า นับเป็นธาตุที่หนักที่สุดในตารางธาตุ (อย่างเป็นทางการ) โดยเป็นธาตุในลำดับที่ 112 ของตารางธาตุ ซึ่งมีเลขอะตอมเท่ากับ 112 ซึ่งเป็นผลบวกเลขอะตอมของสังกะสีและตะกั่ว (สังกะสีมีเลขอะตอม 30, ตะกั่วมีเลขอะตอม 82) และเลขอะตอมนี้ยังแสดงถึงจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียส และมีเลขมวลเท่ากับ 277ศ.ฮอฟแมนน์ และทีมนักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติจากเยอรมนี ฟินแลนด์ รัสเซีย สโลวาเกีย รวมทั้งหมด 21 คน ได้สร้างอะตอมตัวแรกของธาตุที่ 112 ขึ้นเมื่อปี 2539 ด้วยเครื่องเร่งอนุภาคภายในศูนย์จีเอสไอ โดยยิงไอออนของสังกะสีไปยังเป้าตะกั่ว นิวเคลียสของสังกะสีและตะกั่วจะหลอมรวมกันด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน เกิดเป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่ และในปี 2545 พวกเขาสามารถผลิตอะตอมของธาตุตัวใหม่นี้ขึ้นได้อีกครั้งต่อมาการทดลองของเครื่องเร่งอนุภาค "ริเคน" (RIKEN) ในญี่ปุ่นได้ผลิตธาตุที่ 112 ออกมาจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นการยืนการค้นพบของจีเอสไอ ก่อนที่จะได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากไอยูแพคเมื่อไม่นานมานี้ทั้งนี้ เครื่องเร่งอนุภาคที่ศูนย์จีเอสไอช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบธาตุใหม่ถึง 6 ตัวแล้วนับแต่ปี 2524 โดยมีเลขอะตอมตั้งแต่ 107-112 ซึ่งได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการแล้ว 5 ธาตุ ดังนี้ ธาตุที่ 107 คือ บอห์เรียม (Bohrium: Bh), ธาตุที่ 108 คือ แฮสเซียม (Hassium: Hs), ธาตุที่ 109 คือ ไมท์เนอเรียม (Meitnerium: Mt), ธาตุที่ 110 คือ ดาร์มสตัดเทียม (Darmstadtium: Ds) และธาตุที่ 111 คือ เรินท์เกเนียม (Roentgenium: Rg)อย่างไรก็ดี ณ ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบธาตุใหม่ไปจนถึงธาตุลำดับที่ 118 แล้ว (ยกเว้นธาตุที่ 117) แต่ยังอยู่ระหว่างการรอยืนยันการค้นพบและตั้งชื่ออย่างเป็นทางการในตารางธาตุ โดยขณะนี้มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ ธาตุที่ 113 อูนอูนเทรียม (Ununtrium: Uut), ธาตุที่ 114 อูนอูนควอเดียม (Ununquadium: Uuq), ธาตุที่ 115 อูนอูนเพนเทียม (Ununpentium: Uup), ธาตุที่ 116 อูนอูนเฮกเซียม (Ununhexium: Uuh) และธาตุที่ 118 อูนอูนออกเทียม (Ununoctium: Uuo) ส่วนธาตุที่ 117 อูนอูนเซปเทียม (Ununseptium: Uus) ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบ แต่คาดว่าเป็นธาตุสังเคราะห์ และเป็นธาตุกัมมันตรังสี ที่น่าจะมีสมบัติคล้ายแอสทาทีน (Astatine: At, ธาตุที่ 85)
ที่มาข้อมูล : ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 17 กรกฎาคม 2552

นักวิทยาศาสตร์

Albert Einstein
Isaac Newton
Alfred Nobel
ที่มา:https://www.myfirstbrain.com/scientists.aspx?Word=1

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ชินจัง ตอน:แมวน้ำโชว์

การขาดออกเป็นท่อน

การขาดออกเป็นท่อน (fragmentation)เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการหักหรือขาดออกเป็นท่อนๆ แล้วแต่ละท่อนจะเจริญเติบโตเป็นตัวใหม่ได้ เช่น พวกหนอนตัวแบน สาหร่ายทะเล
ที่มา:https://www.myfirstbrain.com/ http://www.lks.ac.th/bioweb/about/unit11b1.html

การสร้างสปอร์

การสร้างสปอร์ (sporulation) เป็นเซลล์สปอร์ มีลักษณะการสืบพันธุ์ที่เกิดขึ้นในพวกเห็ดรา, สาหร่าย และโปรโตซัว เป็นการสืบพันธุ์โดยที่เซลล์แบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสหลายๆ ครั้ง จนได้นิวเคลียสเกิดขึ้นจำนวนมากแล้วแบ่งไซโทพลาสซึมมา ห่อหุ้มรอบๆ เป็นเซลล์ขนาดเล็ก แต่ละเซลล์เรียกว่า "สปอร์" และลมจะช่วยให้สปอร์ปลิวไปตกในที่ต่างๆ เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะงอกเจริญเป็นหน่วยชีวิตใหม่ และเจริญมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ เซลล์สปอร์อีกแบบหนึ่งพบได้ในพืชพวกมอสและเฟิร์น เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเซลล์ที่เกิดใหม่จะต่างกับเซลล์พ่อแม่
ที่มา:https://www.myfirstbrain.com

การงอกใหม่

การงอกใหม่ (regeneration) พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม
ที่มา:https://www.myfirstbrain.com http://www.lks.ac.th/bioweb/about/unit11b1.html

พาร์ทีโนจีเนซิส

พาร์ทีโนจีเนซิส (parthenogenesi) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของแมลงบางชนิด เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ที่ฟักเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิในสภาวะปกติไข่ของสัตว์ดังกล่าวจะฟักออกมาเป็นตัวเมียเสมอ แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น เกิดความแห้งแล้งหนาวเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมียก็จะผลิตไข่ที่ฟักออกเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย จากนั้นสัตว์ตัวผู้และตัวเมียเหล่านี้จะผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะออกไข่ที่มีความคงทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวได้ ในผึ้ง มด ต่อ แตน ก็พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบพาร์ธีโนเจเนซิสด้วยเช่นกัน โดยไข่ไม่ต้องมีการปฏิสนธิก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งจะฟักออกมาเป็นตัวผู้เสมอ
ที่มา:https://www.myfirstbrain.com http://www.lks.ac.th/bioweb/about/unit11b1.html

การแบ่งตัวออกเป็นสอง

การแบ่งตัวออกเป็นสอง (binary fission)เป็นกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ เช่น - การแบ่งตัวของอะมีบา


ที่มา:https://www.myfirstbrain.com

การแตกหน่อ

การแตกหน่อ (budding)
เป็นรูปแบบของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติด้วยกลไกทางพันธุกรรมที่เป็นแบบเดียวกัน (การโคลน) เช่น ยีสต์แตกหน่อ เซลล์หนึ่งเซลล์กลายเป็นสองเซลล์ หรือพวกฟองน้ำ ส่วนของเซลล์ต้นแบบ (จากพ่อแม่) จะหลุดออกมาและเจริญเติบโตเป็นฟองน้ำตัวใหม่
เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง
ที่มา:https://www.myfirstbrain.com

การสืบพันธุ์ของสัตว์

การสืบพันธุ์ของสัตว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)
- การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)
1.การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) การสืบพันธุ์นี้มักเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตชั้นสูง การปฏิสนธิ (fertilization) เป็นกระบวนการที่นิวเคลียสของสเปิร์มหรือตัวอสุจิรวมกับไข่กลายเป็นไซโกต (Zygote) ซึ่งจะเจริญเป็นตัวอ่อนต่อไป การปฏิสนธิมี 2 แบบคือ

1.1การปฏิสนธิภายใน (internal fertilization) เป็นการสืบพันธุ์โดยตัวผู้และตัวเมียจะจับคู่กันแล้วตัวผู้ปล่อยอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ในร่างกายของตัวเมีย แล้วเกิดการปฏิสนธิได้เป็นไซโกต (ยกเว้นสัตว์บางชนิด ที่เพศเมียจะปล่อยไข่เข้าสู่ร่างกายของเพศผู้ เช่น ม้าน้ำ) จากนั้นไซโกตก็มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเจริญไปเป็นเอมบริโอซึ่งเอมบริโออาจเจริญภายนอกตัวแม่ เช่น สัตว์ปีกพวกนก ไก่ เป็ด หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ตุ่นปากเป็ด ส่วนสัตว์ที่มีการปฏิสนธิแล้วเอมบริโอเจริญเติบโตภายในตัวแม่ จากนั้นจึงคลอดออกมาเป็นตัว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1)เอมบริโอเจริญเติบโตในตัวแม่โดยได้อาหารที่สะสมไว้ในไข่ เช่น ฉลาม กระเบน
2)เอมบริโอเจริญเติบโตในตัวแม่โดยได้อาหารจากแม่ทางรก เช่น แมว สุนัข วัว รวมทั้งคน

1.2การปฏิสนธิภายนอก (external fertilization) เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ที่แยกเพศกันอยู่คนละตัว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู หรือหอยบางชนิดการปฏิสนธิภายนอกมักเกิดกับสัตว์น้ำ โดยสัตว์ที่ผสมพันธุ์กันต่างปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ทั้ง อสุจิและ ไข่ออกมาเป็นจํานวนมาก เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรืออสุจิจะว่ายและมุ่งตรงไปยังไข่อย่างถูกต้อง เพราะไข่มีสารเคมีเป็นตัวกระตุ้นอสุจิให้เข้าหา ทําให้เซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองมีโอกาสได้พบกันมากขึ้น แต่ถ้าไม่พบกัน เซลล์สืบพันธุ์ก็จะสลายตัวตายไปสําหรับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่มีการปฏิสนธิภายนอกตัว จะมีการจับคู่กันผสมพันธุ์ในน้ำ ได้แก่ ปลาหลายชนิด กับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง หลังจากปฏิสนธิแล้วไข่จะกลายเป็นไซโกต ไซโกตจะแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสและเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไปการปฏิสนธิภายนอกของกุ้งก้ามกราม กุ้งตัวเมียจะจับคู่กับกุ้งตัวผู้ ตัวเมียนอนหงายแล้วเอาด้านล่างของลำตัวประกบกันโดยให้ช่องเปิดเพศผู้ของตัว ผู้ (ตรงตำแหน่งขาเดินคู่ที่ 5) ตรงกับช่องเปิดเพศเมีย (ตรงตำแหน่งขาเดินคู่ที่ 3) จากนั้น ตัวผู้ปล่อยอสุจิและเมือกออกมา ส่วนตัวเมียก็ปล่อยไข่ออกมาเกิดการปฏิสนธิกันส่วนการปฏิสนธิภายนอกของกบ ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียทางด้านหลังไว้แน่น และปล่อยอสุจิออกมาและตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาผสมพันธุ์กันในน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะพัฒนาเป็นไซโกตและพัฒนาเป็นกบเต็มวัยต่อไป
2.การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยกระบวนการแบ่งนิวเคลียส หรือการปฏิสนธิ โดยเกิดจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเพียงเซลล์เดียว ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียอาร์เคีย พืชบางชนิด และเชื้อรา การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมีหลายแบบ ได้แก่การสืบพันธุ์นี้มักเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ วิธีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแบ่งได้ ดังนี้
2.1การแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน (binary fission)
2.2การแตกหน่อ (budding)
2.3การงอกใหม่ (regeneration)
2.4การขาดออกเป็นท่อน (fragmentation)
2.5การสร้างสปอร์ (Sporulation)
2.6พาร์ทีโนเจเนซิส (parthenogenesis)